advertisement

กลุ้มใจ บ้านซื้อยังไม่ถึงปีสกัดฉาบใหม่ก็ยังเกิดปัญหา


advertisement

        สภาพอากาศในเมืองไทยที่สัมผัสได้ทุกวัน มีทั้งความทั้งร้อนและชื้น ความร้อนสร้างความลำบากในการใช้ชีวิตมากพอสมควร แต่ความชื้นก็ไม่น้อยหน้าเพราะถ้าในตัวบ้านสะสมความชื้นเอาไว้มาก ๆ นอกจากจะส่งผลเสียต่อตัวบ้านได้ 

        อย่างล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Supachai Utaipuay ได้โพสต์ภาพบ้านที่เจอปัญหากับความชื้นเกิน 40% ต้องให้ช่างสกัดผนังแล้วฉาบใหม่ แต่ก็ยังแก้ไม่ตก โดยระบุว่า…. 

        ขอแนวทางการแก้ไขหน่อยครับ บ้านซื้อยังไม่ถึงปี ตัวบ้านสร้าง 3-4 ปี ความชื้นเกิน 40% ภาพนี้โครงการมาสกัดและฉาบปูนทับหน้า แต่ยังเกิดความชื้นสูงจากระดับพื้นชั้น 1 ประมาณ 0-80 เซนติเมตร มีรอบตัวบ้านทั้งภายนอกและภายใน  

บ้านมีความชื้น 


advertisement
ให้ช่างสกัด 

ฉาบใหม่ 


advertisement
แต่ก็ไม่ดี 

แก้ยังไงดี 


advertisement


advertisement

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 

       สูงแบบนี้ น้ำใต้ดินคงเยอะ ระยะยาวไม่ดีแน่ ต้องเป็นช่างเฉพาะครับ น้ำยาแพงมาก ที่ใช้บูรณะอาคารเก่า จะสกัดผนังเดิมช่วงล่าง ใช้ไมโครไฟเบอร์วางแล้วลงน้ำยาฯ หรือ ผนังช่วงที่ติดกับพื้น ลองเปลี่ยนเป็น glass block สองแถว (อันนี้คิดแบบ ใช้แก้วกันน้ำซึมขึ้น) หรือลองเอาไปคิดต่อยอดแบบอื่นๆ 

ต้องดูให้ออกว่าน้ำมาจากทางไหนจะได้แก้ปัญหาได้ถูกจุด 

         ตอนก่ออิฐ ทางช่างคงไม่ได้ปูพลาสติกใสรองพื้นคานก่อนที่จะก่อทับนะครับ หากระดับคานสูงพื้นสูงจากระดับดินไม่ถึง 70 cm. ต้องปูหมดครับ ไม่เช่นนั้นสีล่อนครับ ซึ่งตามหลักแล้วจะต้องปูพลาสติกให้แล้วเสร็จก่อนเพื่อที่จะเอาไว้บล็อกความชื้นจากตัวคาน ที่ซึมซับความชื้นเข้ามายังตัวผนัง แล้วก็การฉาบปูนหากเป็นภายนอกช่างอาจจะมีการฉาบผิดหลักเพราะตามหลักต้องขึ้นปูนฉาบ 2 ชั้นนะครับ ชั้นแรก 1:2.5 ชั้นสอง 1:3 – 4 เรียกว่าปูนจืดครับ ไม่ว่าจะอิฐมอญ , อิฐบล็อก , อิฐมวลเบาต้องปูลองด้วยพลาสติกหมดครับ โดยร้อยละ 95% ผรม. หรือช่างมักจะไม่ทราบถึงหลักการในการก่อ, ฉาบที่แท้จริงของการก่ออิฐรวมถึงการฉาบหนักหน่อย 

          ชาวเน็ตต่างแนะวิธีการในการแก้ปัญหา บ้านชื้นปัญหาคู่บ้านที่ไม่ควรมองข้ามจริงๆ ส่งผลในระยะยาว นอกจากการลอกล่อนของผนังอาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้ ต้องรีบแก้ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Supachai Utaipuay 


advertisement