advertisement

ทนายเกิดผล ชี้เหตุผล ธนบัตรเป็ดคณะราษฎร ทำไมไม่ผิดกฎหมาย


advertisement

     จากกรณีที่คณะราษฎร ได้มีการนำธนบัตรรูปเป็ดเหลือง มูลค่า 10 บาท จำนวน 3,000 ใบ แจกให้กับผู้ชุมนุมม็อบ 25 พฤศจิกายน 63 นำไปใช้ซื้อของที่รถขายของ หรือ CIA เฉพาะร้านค้าที่ติดสัญลักษณ์รูปธนบัตรเท่านั้น นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ศรีสุวรรณชี้ธนบัตรเป็ดคณะราษฎรผิดกฎหมายโทษจำคุกตลอดชีวิต


     ล่าสุด ทางด้าน ทนายเกิดผล แก้วเกิด ทนายความชื่อดัง ก็ได้มีการโพสต์แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว โดยระบุว่า… 

     ในส่วนตัวผม ๆ คิดว่า การออกแบ้งค์เป็ดของกลุ่มนักศึกษา ยังไม่น่าจะเป็นความผิดตามกฎมายอาญา มาตรา 240 เพราะ การปลอมเงินตรา ตามมาตรา 240 ผู้กระทำต้องมีเจตนาทำ หรือลวงให้บุคคลอื่น หรือผู้พบเห็นเชื่อหรือเข้าใจได้ว่า เป็นเงินตรา ที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายจริงๆ แต่จากภาพและข้อความด้านล่าง ที่เขียนว่า

     "ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน"

     ยิ่งทำให้เห็นชัดเจนว่า ไม่มีข้อความหรือส่วนใด ทำให้ประชาชนเชื่อว่า แบ้งค์เป็ด เป็นธนบัตรที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ประกอบกับ เป็นการแจกจ่ายในกลุ่ม แทนเงินตราจริงๆ เพราะเมื่อนำไปซื้อของ (แลก) แล้ว พ่อค้าแม่ค้า ยังต้องนำแบ้งค์เป็ดไปแลกธนบัตรของจริง ในมูลค่าใบละ 10 บาท หาก คนใช้ คนรับไว้ เชื่อหรือเข้าใจว่า ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ก็ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องไปแลกเงิน 10 บาทกับ ผู้ที่นำมาแจก แต่คงจะนำไปใช้สอยหรือ ซื้อขายต่อๆกันไปครับ


advertisement

     ผมดูที่เจตนาของผู้กระทำมากกว่า ผมมองว่า กลุ่มนักศึกษา เจตนาทำแบ้งค์เป็ด เพื่อล้อเลียนทางการเมือง มากกว่าเจตนาปลอมเงินตรา ครับ ในส่วนการล้อเลียน มีข้อความ "ข้าพระพุทธเจ้า ราษฎรผู้อิ่มแก๊สน้ำตาและน้ำสารเคมีจากภาษีประชาชน" น่าจะเป็นการล้อเลียน ประชดประชัน รัฐบาล ตรงๆ และกระทบไปถึงสถาบัน ซึ่งพอจะเข้าใจในนัยยะได้ แต่ ยังไม่อาจสรุปได้ว่า ผิดกฎหมายมาตรา 112 หรือไม่ เพราะไม่เคยมีแนวคำพิพากษาฎีกาครับ #ปลอมเงินตรา

     ฎ.4930/2557 ป.อ. มาตรา 240 บัญญัติว่า "ผู้ใดทำปลอมขึ้นซึ่งเงินตรา ไม่ว่าจะปลอมขึ้นเพื่อให้เป็นเหรียญกระษาปณ์ ธนบัตร หรือสิ่งอื่นใดซึ่งรัฐบาลออกใช้หรือให้อำนาจให้ออกใช้  ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเงินตรา" คำว่า "#ทำปลอมขึ้น" #หมายความถึงทำโดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงต้องทำในประการที่จะให้มีลักษณะอย่างเดียวกับเงินตราที่รัฐบาลกำหนด เช่น มีลวดลาย สี ขนาด ลักษณะของกระดาษอย่างเดียวกัน #ซึ่งจะต้องพอที่จะลวงตาให้เห็นว่าเป็นเงินตรา แต่ไม่จำต้องถึงกับต้องพิจารณาจึงจะรู้ว่าปลอม เพียงแต่ลวงตาซึ่งถ้าไม่พิจารณาให้ดีอาจหลงเข้าใจว่าเป็นเงินตราได้ ก็ถือว่าเป็นการทำปลอมขึ้นแล้ว และการทำปลอมย่อมจะเหมือนของจริงไปทุกอย่างไม่มีผิดกันเลยไม่ได้ ย่อมต้องมีบางสิ่งบางอย่างผิดจากของจริงบ้างไม่มากก็น้อย ฉะนั้น การปลอมจะผิดจากของจริงที่ตั้งใจทำให้เหมือนมากน้อยเพียงใดจึงไม่สำคัญ


advertisement

     การที่จำเลยนำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ซึ่งเป็นเงินตราที่รัฐบาลไทยออกใช้จำนวน 46 ฉบับ มาตัดออกเป็น 2 ท่อนทุกฉบับ ท่อนหนึ่งยาวเกินครึ่งฉบับ อีกท่อนหนึ่งยาวไม่ถึงครึ่งฉบับ แล้วนำท่อนซ้ายที่สั้นมาต่อสลับท่อนเข้ากับท่อนขวาที่สั้นของอีกฉบับหนึ่งด้วยเทปใส ย่อมเป็นการทำธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ขึ้นใหม่อีก 23 ฉบับ โดยตั้งใจให้เหมือนของจริง จึงเป็นการทำปลอมขึ้นซึ่งธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ที่รัฐบาลออกไว้ การที่ธนบัตรของกลางเป็นธนบัตรชำรุดตาม พ.ร.บ.เงินตรา พ.ศ.2501 มาตรา 18 ประเภทต่อท่อนผิด ทำให้ไม่เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปลอมเงินตรา เพราะหากธนบัตรดังกล่าวเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรดังกล่าวย่อมไม่เป็นของปลอม การที่ใช้ชำระหนี้ไม่ได้ตามกฎหมายแสดงว่าเป็นของปลอม จำเลยจึงมีความผิดฐานปลอมเงินตราและมีเงินตราปลอมเพื่อนำออกใช้โดยรู้ว่าเป็นเงินตราปลอมตาม ป.อ. มาตรา 240 และ 244


advertisement

     เราจะเห็นว่าธนบัตรลักษณะแบบนี้ที่ทำเป็นธนบัตรมงคลก็ยังทำได้ ธนบัตรของคณะราษฎร ก็ไม่น่าจะเป็นความผิดตามกฎมายอาญา มาตรา 240 เหมือนกัน 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ทนายเกิดผล แก้วเกิด


advertisement