advertisement

ทริคเล็ก ๆ จากสถาปนิก ปลูกต้นไม้อย่างไรให้ลมเย็นเข้าบ้าน


advertisement

         ในการสร้างบ้าน นอกจากเราจะต้องเลือกแบบบ้านที่สวยงามถูกใจ และตอบสนองความต้องการแล้ว ยังมีศาสตร์อีกหลายอย่างที่ต้องศึกษา เพื่อให้บ้านออกมาสมบูรณ์แบบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้สถาปนิกจะทราบกันดี

        และอีกหนึ่งเรื่องที่หลายคนอาจจะไม่รู้และมองข้ามนั่นก็คือ การปลูกต้นไม้บริเวณบ้าน ที่มีผลต่อลมที่จะพัดผ่านตัวบ้าน โดยเฟซบุ๊กเพจ สถาปนิกไดอะรี่ ได้เผยภาพ พร้อมระบุว่า….

        แดดร้อนให้ปลูกต้นไม้ ฝุ่นเยอะให้ปลูกต้นไม้ จะปลูกอย่างไรหล่ะ เราก็ศึกษากันต่อไป

       สายลมศึกษา ตอน ปลูกต้นไม้รอบบ้าน

       การปลูกต้นไม้รอบบ้านเพื่อกันแดด กันฝุ่น สร้างทิศทางลมมีหลายรูปแบบ ขอยกตัวอย่าง 3 แบบ คือ


advertisement

       แบบที่ 1 ลมพัดผ่าน ปลูกแนวต้นไม้ เพื่อให้ลมเข้าบ้าน และให้ลมผ่านตัวบ้านไปด้วย เป็นลมที่ระบายความร้อนในบ้านและรอบบ้าน


advertisement

       แบบ2 ลมพัดสอบ และแบบ 3 ลมพัดวน ควรเป็นที่ที่ลมไม่แรงมาก และเราต้องการให้ลมเข้าบ้านมากๆ แต่ควรมีทางออกลมด้านหลังตัวบ้านด้วย โดยเฉพาะยามฉุกเฉินที่มีลมพายุเข้า เพื่อให้ลมแรงผ่านไป ไม่ทำความเสียหายกับบ้าน ซึ่งทั้งสองแบบนี้ไม่เหมาะกับบ้านที่ติดทะเล หรือใกล้ทะเล
บ้านจะเย็น ได้นอกจากจะมีลมเข้าบ้านแล้ว ลมนั้นควรผ่านรอบบ้าน เพื่อทำให้รอบบ้านเย็น ที่สำคัญ ลมนั้นควรเป็นลมเย็น ซึ่งลมที่ผ่านต้นไม้ ลมจะเย็นขึ้นด้วย
ปลูกต้นไม้ได้ประโยชน์มากมาย ปลูกต้นไม้กันนะ   

          ผู้คนส่วนใหญ่ เลือกที่จะปลูกต้นไม้บริเวณบ้านไปตามความชอบ หรือมองว่าวางตรงไหนแล้วสวย ก็วางไปเลย โดยที่ไม่ทราบกันเลยว่า ต้นไม้มีผลต่อการถ่ายเทอากาศของบ้านด้วยเช่นกัน 


advertisement

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 

          ลมทิศหลักของประเทศจะเป็นทิศตะวันตกเฉียงใต้พัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเรามีทะเล ทางทิศใต้ และมีภูเขาทางทิศเหนือ และมีลมหลักเป็นลมทางทิศเหนือ ซึ่งเราไม่ได้ชอบลมหนาวค่ะ และเรามักจะเปิดบ้าน หรือเปิดช่องทางรับลมทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นี้ เป็นลมที่ไม่เปลี่ยนทิศ มีลมทิศอื่นด้วย แต่ไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี เราก็ทำช่องเปิดในห้องที่เหมาะสมรับลมนั้นได้ค่ะ 


advertisement

          เป็นอีกหนึ่งศาสตร์ที่หากต้องการให้บ้านออกมาสมบูรณ์แบบ ก็ต้องคำนึงถึงเช่นกัน บ้านจะได้ร่มรื่นและอากาศดีด้วยค่ะ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สถาปนิกไดอะรี่ 


advertisement