advertisement

บรรยากาศนาข้าวญี่ปุ่น ใช้เทคโนโลยีช่วยทุกขั้นตอน ปักดำสวยเป็นระเบียบ


advertisement

        ถ้าหากพูดถึงข้าว ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งประชากรโลกบริโภคเป็นอาหารสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย ข้าวเป็นธัญพืชซึ่งมีการปลูกมากที่สุดเป็นอันดับสามทั่วโลก ประเทศที่ผลิตข้าว ไม่ว่าจะเป็นจีน  อินเดีย อินโดนิเซีย เวียดนาม ไทย พม่า กัมพูชา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีพันธุ์ข้าว มีวิธีการที่แตกต่างกัน 

        ล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก セイ&-ดอกไม้กับฟูจิซัง” ได้โพสต์ให้ชมบรรยากาศท้องนาวันนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่ บ.คาชิยะ ต.คังนามิ จ.ชิซุโอกะ ญี่ปุ่น ข้าวถูกปลูกอย่างสวยเป็นระเบียบ โดยได้โพสต์ระบุว่า…. 

ทุ่งนาวันนี้ที่ญี่ปุ่น บ.คาชิยะ ต.คังนามิ จ.ชิซุโอกะ ญี่ปุ่น


advertisement
นาข้าวญี่ปุ่นสวยมาก 

        ญี่ปุ่น เร่งพัฒนาระบบการทำนาอย่างจริงจัง หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง ด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา ในธรรมชาติ ญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตอบอุ่น ผลผลิตของพืชจะสูงกว่าในเขตร้อน สาเหตุจากอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนมีความแตกต่างกันหลายองศา ซึ่งในฤดูร้อนมีแสงแดดจ้า การสังเคราะห์แสงดำเนินไปเต็มประสิทธิภาพ การสะสมแป้งและน้ำตาลในอัตราที่สูง แต่พอตกกลางคืนอากาศเย็นลง การนำแป้งและน้ำตาลไปใช้ในขบวนการหายใจจึงอยู่ในอัตราที่ต่ำ ส่งผลให้ขบวนการสะสมอาหารได้มากกว่าในเขตร้อนตามที่กล่าวมาแล้ว  


advertisement
อีกปัจจัยหนึ่งรัฐบาลจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรถือครองที่ดิน รายละ 1 เฮกเตอร์ หรือ 6.25 ไร่ เท่านั้น การทำนาของญี่ปุ่นจึงประณีตมากเป็นพิเศษ 


advertisement

        เนื่องจากญี่ปุ่นมีอากาศร้อนเพียงระยะสั้นๆ เกษตรกรจึงเริ่มเพาะกล้าในกระบะเก็บไว้ในตู้อบที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส เพื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอกในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ระยะนี้อากาศยังคงหนาวเย็น  มีอุณหภูมิไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส หลังจากเมล็ดงอกแล้วจึงนำกระบะต้นอ่อนเข้าเก็บในโรงเรือนพลาสติก ที่มีอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส ดูแลจนต้นกล้ามี 3 ใบ ก่อนนำออกไปปักดำด้วยเครื่องปักดำ ระยะนี้อากาศภายนอกอบอุ่นขึ้นแล้ว 


advertisement
สวยมาก 

        เทคนิคสำคัญคือ ในกลางเดือนสิงหาคม มีอากาศร้อนจัด เกษตรกรญี่ปุ่นจะระบายน้ำออกจากแปลงนา 4 ครั้ง แต่ละครั้งทิ้งระยะให้ดินแตกระแหง แล้วจึงไขน้ำเข้าแปลง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ก๊าซไข่เน่าและหญ้าที่ไถกลบลงดินก่อนการปักดำ ให้ระเหยไปในอากาศ เพราะว่าก๊าซทั้งสองชนิดเป็นพิษกับระบบรากของต้นข้าว ครั้งสุดท้ายคือ ครั้งที่ 4 เป็นระยะข้าวใกล้ออกรวง เมื่อดินแตกระแหง เกษตรกรจะหว่านปุ๋ยแต่งหน้า ให้เม็ดปุ๋ยตกลงตามรอยแยกของดิน เข้าใกล้ระบบรากมากที่สุด แล้วไขน้ำเข้ามา น้ำจะละลายดินปิดรอยแยกของผิวดิน เก็บรักษาปุ๋ยไว้ให้ละลายออกมาอย่างช้า ให้ต้นข้าวนำไปใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพ 

        การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยทำให้ผลผลิตข้าวเพิ่มสูงขึ้น 7-10 เปอร์เซ็นต เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีใส่ปุ๋ยด้วยวิธีหว่านลงดิน-พื้นนาโดยตรง ระยะนี้ต้นข้าวในแปลงจะเริ่มแทงช่อให้เห็นพอดี 

       ด้วยชาวนาญี่ปุ่นได้นำเอาวิธีการมาประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติ ทำให้สามารถยกระดับผลผลิตเฉลี่ยทั่วประเทศสูงถึง 79 ถัง ต่อไร่ นี่เป็นน้ำหนักของข้าวกล้อง แต่หากคิดรวมทั้งเปลือกข้าวด้วย ค่าเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 120 ถัง ต่อไร่ สูงกว่าจีน ที่ผลผลิตเฉลี่ย 77 ถัง ต่อไร่ข้าวเปลือก ซึ่งเป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่น  

         การปลูกข้าวของญี่ปุ่นจะใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยทุกขั้นตอน ตั้งแต่เตรียมดินยันเก็บเกี่ยว…ลดต้นทุนทุกด้าน ทั้งแรงงาน ปัจจัยการผลิต แถมผลผลิตเพิ่ม  

ญี่ปุ่นมองข้ามเรื่องผลผลิตต่อไร่ เพราะผลผลิตนิ่ง แต่ละปีต่างกันไม่มาก บวกลบ 2% ให้ความสำคัญเรื่องรสชาติ การเพิ่มมูลค่าเป็นพิเศษ 

         การใช้เทคโนโลยีช่วยลดระยะเวลาเพาะปลูกไปได้ถึง 60% ในพื้นที่ 1 แปลง (2 ไร่ในรายเล็ก) ใช้แรงงานทำสองคนแค่ตอนหยอดเมล็ดและเก็บเกี่ยวผลผลิตเท่านั้น  

         การทำนาของญี่ปุ่น ในการใช้เทคโนโลยี รูปแบบการทำนา เข้ามาช่วยในการปักดำต้นข้าว ทำให้นาข้าวสวยและเป็นระเบียบอย่างที่เห็น 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก セイ&-ดอกไม้กับฟูจิซัง” 


advertisement