advertisement

รีโนเวทบ้านผีขุนนางกลางกรุง พร้อมเล่าประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืม


advertisement

         การรีโนเวทเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการปรับปรุงบ้านที่ใช้งบประมาณน้อยกว่าการสร้างใหม่ และการรีโนเวทบ้านเก่าให้น่าอยู่แต่ยังคงสภาพบ้านหลังเก่าเอาไว้ ความทรงจำกับบ้านหลังเก่าเอาไว้ วันนี้จะพาไปดูการรีโนเวท บ้านผีขุนนางกลางกรุง กับประสบการณ์ที่ไม่มีวันลืม จากสมาชิกพันทิป สมาชิกพันทิปหมายเลข 1415794 จะสวยและน่ากลัวขนาดไหน ตามไปดูกันเลย 

        เอางี้ครับ เพื่อความสนุกตื่นเต้น ผมมีเกมเดาราคาบ้านมาให้เล่นครับ ให้ทายว่าเฉพาะตอนที่ซื้อบ้านหลังนี้มา ซื้อมาในราคาเท่าไรครับ (ไม่รวมค่าใช้จ่ายตอนโอนนะครับ) ผู้โชคดีทายถูกท่านแรก ผมจะพาเที่ยวชม เกาะรัตนโกสินทร์และเลี้ยงมนต์นมสด ฟรีครับ อยู่หน้าบ้านนี้เอง(พาเพื่อนมาร่วมได้คน สอง คน) ย่านพระนครมีเสนห์ที่ ทำให้ผมหลงใหล และอยากแบ่งปันครับ ใครทราบวิธีแก้หัวเรื่องบ้างครับ ขอพันทิปแก้เป็นรีโนเวทบ้านโบราณ 100 ปีกลางกรุงเพื่อความสุภาพครับ

         เรื่องมันนานมาพอสมควรแล้วนะครับ กับบ้านหลังนี้ที่ผมได้มา เรื่องราวมันก็เริ่มมาตั้งแต่ปี 2556 ประมานเดือนมิถุนายน ผมยังจำได้แม่นว่า วันนั้นเป็นวันที่ผมว่างจากงานและเริ่มคิดฝันว่าเราเองควรจะมีบ้านในกรุงทพสักหลังหนึ่ง เหมือนกับคนอื่นๆเขา ผมจึงตัดสินใจมาเดินย่ำฟุตบาทน้ำนองๆในกทมเพื่อจะเลือกซื้อบ้านสักหลังไว้เป็นที่พักเวลาเข้าเมือง ………….ด้วยความเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่คอนโดและหมู่บ้านจัดสรร ผมจึงเสาะหาข้อมูลเกี่ยวกับย่านที่อยู่อาศัยในกทม. แล้วก็บังเอิญไปเจอ Blog ของพี่คนหนึ่งซึ่งเคยอยู่ในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ ระหว่างปี 2525-2540   ใน Blog ของเขามีรูปภาพบ้านเรือนเก่าๆมากมายทีเคยถ่ายไว้จากละแวกเก่าแก่แห่งนี้   มันจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้ผมมาเดินย่ำตรอก ซอกซอยในละแวกถนนราชดำเนินกลางถนนสายประวัติศาสตร์แห่งนี้…….ตรอก ซอก ซอย เล็กๆที่บ่งบอกถึงผังเมืองอันมีมาก่อนที่ กรุงเทพของเราจะถูกปกครองด้วยรถยนต์ บางซอยก็กว้างพอสำหรับรถยนต์ บางซอยก็กว้างเพียงแค่เดินสวนกัน บ้านเรือนในละแวกนี้มีผสมปนเปกันไปหลายสไตล์ แต่ที่มีมากที่สุดก็เห็นจะเป็นบ้านไม้สไตล์ ขนมปังขิง ที่สร้างมาตั้งแต่สมัย ร.5 และ ร.6 เท่าที่พอจะนับเอาได้ผมเห็นว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 80 หลังกระจุกรวมตัวกันอยู่ตามตรอกต่างๆ ในใจก็พลอยนึกจินตนาการไปถึงเพลง บัวขาว และ เงาไม้ของ พวงร้อย อภัยวงศ์ สมัยที่น้ำในคลองหลอดยังใส ลงเล่นได้

         โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าอะไรที่จะเป็นของเรา ก็จะเป็นของเรา  ซึ่งถึงแม้บ้านขนมปังขิงทั้งสองหลังที่นัดล่วงหน้ามาดูในวันนั้นจะมีความงดงามมากสักเพียงใดอุปสรรคต่างๆก็ทำให้เราไม่สามารถเป็นเจ้าของมันได้  เกือบสี่โมงเย็นวันนั้นผมจึงคิดจะเดินทางกลับราชบุรีพร้อมกับการคว้าน้ำเหลว แต่ในขณะที่กำลังจะกลับนั้นเอง เด็กตัวน้อยที่พามาด้วยก็เหลือบไปเห็นร้านขายขนมเก่าๆร้านหนึ่งอยู่ค่อนเข้าไปในซอยเล็กๆกว้างพอรถเข้าได้ นั้นเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเดินเข้ามาในซอยชื่อ "ตรอกศิลป์" และมาพบกับบ้านหลังนี้

         การซื้อขนมของเด็กตัวน้อย เป็นจุดเริ่มต้นของบทสนทนาระหว่างผมกับเจ้าของร้านค้า ซึ่งสงสัยว่าคนแปลกหน้าเข้ามาทำอะไรในซอยเล็กๆนี้ เพียงแค่เล่าให้ฟังถึงการมาดูบ้าน เจ้าของร้านก็ชี้เข้ามาที่บ้านหลังหนึ่งอยู่เยื่องเข้าไปในซอย ผมจึงพากันเดินเข้าไปยังบ้านเพื่อสอบถามถึงข่าวการขาย ยิ่งเข้าไปใกล้ ยิ่งเห็นถึงความโรยราของตัวบ้าน และสภาพการดัดแปลงต่อเติมตามกาลเวลา แต่กระนั้นก็ยังพอเห็นเค้าโครงความงามในอดีต จึงคิดอยากลองฝีมือคืนชีวิตให้กับบ้านหลังนี้กันสักครั้งหนึ่ง 

         สภาพแรกที่เห็นจากภายนอกรั้วบ้านครับ

        เรายืนด่อมๆ มองๆ อยู่หน้าบ้าน ในใจก็คิดว่าควรจะทำอย่างไรดีเพราะสภาพภายนอกของตัวบ้านเหมือนถูกปล่อยปะละเลยมานานจบเกือบจะเหมือนบ้านร้าง ก่อนจะตัดสินใจกดกริ่งเรียกผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน บรรยากาศบ่ายแก่ๆ มันดูสงบเงียบผิดปกติ แถบจะไม่มีผู้คนเดินในซอยเลย ยืนรออยู่สักพัก ก็มีป้าแก่ๆคนหนึ่งอายุน่าจะเกือบเจ็ดสิบ เดินมาเปิดประตูบ้าน ผมจึงขออนุญาติถามว่าบ้านหลังนี้ต้องการขายจริงหรือไม่ และคำตอบที่ได้คือให้เข้ามาดูก่อนแล้วจะปรึกษากับญาติคนอื่นๆรวมทั้งคุณปู่อีกคนหนึ่งซึ่งไม่สบายนอนอยู่บนเตียงพยาบาลที่โถงกลางบ้าน ถ้าให้คาดเดาอายุแล้วก็น่าจะเข้าเลข 9 มาได้ประมานหนึ่ง

       ผมจึงขอนุญาติคุณป้าเข้าไปดูในบ้าน ภายในบ้านมืดมากแทบมองไม่เห็นอะไรเลยรูปถ่ายทุกใบต้องใช้ Flash ครับ มืดๆเดินไปก็ลุ้นไปว่าจะเห็นอะไรมั้ย นี่คือรูปห้องโถงครับ


advertisement

ขึ้นไปบริเวณชั้น สอง มีตู้เสื้อผ้าโบราณอยู่พร้อมกับข้าวของเครื่องใช้โบราณอีกหลายชิ้น


advertisement
บันได ปีนขึ้นชั้นสาม เป็นห้องเก็บของใต้หลังคา

และที่ตกใจที่สุดคือ ….


advertisement
เมื่อเปิดเขาไปในห้องเก็บของ มันมืดมากเลยใช้ flash ถ่ายติดมาแบบนี้ครับ ตกใจแทบแย่ตอนเปิดดูใสมือถือครั้งแรก

       ทีแรกมืดๆนึกว่า ของจริงครับ นึกว่าถ่ายติดของดีมาซะแล้ว

       เมื่อเดินดูรอบๆบ้านเสร็จผมก็คุยกับคุณป้าเจ้าของบ้านและได้ความว่าบ้านหลังนี้ถูกสร้างมานานแล้ว ตั้งแต่เมื่อไรไม่ทราบแต่ตอนยังสาวๆคุณป้าจำได้ว่าตัวบ้านเคยมีลายฉลุมากกว่านี้ พี่ชายคนโตป้าหรืออย่างไรเคยรับราชการเป็นทหารเรือแล้วชวนเพื่อนๆมาบูรณะบ้านครั้งใหญ่อยู่หนหนึงสัก สามสี่สิบปีมาแล้ว มีการเปลี่ยนส่วนต่างๆของบ้านไปมากมาย แต่ที่จะคงเหลือไว้ดีที่สุดก็คือบันได้ ส่วนลายฉลุบางส่วนก็น่าจะถูกเก็บไว้ที่ชั้นใต้ดิน ซึ่งก็ไม่เคยรื้อค้นมานานแล้ว

       จากสภาพบ้านที่ผมเห็นผมก็นึกเสียดายบ้านมาก ในใจก็นึกว่าเราปักธงมาตั้งแต่แรกแล้วว่าคงจะเอาหลังนี้ ถึงสภาพมันจะโทรมสักเท่าไร ถึงมันจะชวนขนหัวลุกกว่าหลังอื่นๆที่ได้ดูมา แต่ก็ตัดสินใจซื้อมาครับ นัดวางมัดจำกับทางคณะญาติๆคุณป้าในไม่กี่วันต่อมา ส่วนตอนไปซ่อมจะเจออะไรบ้างนั้น เดี๋ยวมาต่อครับ


advertisement

       ไม่กี่วันต่อมาหลังจากเซ็นสัญญาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผมก็กลับมานั้งทำการบ้านสืบค้นประวัติของบ้านหลังนี้ เพื่อที่จะทำการบูรณะมันสู่สภาพเดิมต่อไป
       เอกสารที่ดีที่สุดในการช่วยประเมินอายุของบ้านก็คือ โฉนดที่ดินครับ แน่นอนว่าวันที่ออกโฉนดและวันที่บ้านถูกสร้างไม่จำเป็นต้องเป็นช่วงเวลาเดียวกัน แต่มันก็เป็นเครื่องมือนำทางที่ดีในการเริ่มต้น ปีพ.ศ.ที่ระบุว่าโฉนดถูกออก คือ 2462 แก่พระยาท่านหนึ่ง ซึ่งจากการค้นประวัติน่าจะเคยคุมกองทัพแถวเขต โคราช เพราะฉะนั้นตัวบ้านก็มีโอกาสที่จะมีอายุเก้าสิบกว่าปี ร่วมร้อยปี

       เมื่อพอจะทราบช่วงเวลาคร่าวๆ ผมก็ต้องไปพยายามหาหลักฐานการมีอยู่ของตัวบ้าน สมัยนั้นใบขออนุญาติก็สร้างก็ยังไม่น่าจะมี ใครใครปลูกอะไรก็สร้างมารถทำได้ การออกโฉนดเช่นเดียวกัน ถึงแม้จะเริ่มมีการทำกันตั้งแต่สมัยกลางรัชกาลที่ 5 แต่ก็ยังไม่แพร่หลาย ที่หลายๆผืนถ้ายังไม่มีนิติกรรมใดๆ เจ้าของส่วนใหญ่ก็ถือสิทธิจับจองไป มากกว่าที่จะไปยื่นของออกโฉนดเป็นเรื่องเป็นราว

       หลักฐานในการพยายามระบุตัวบ้านอีกอย่างนึง ก็คือ แผนที่กรุงเทพ มหานครแต่ละสมัย ซึ่งสมัยก่อนมีการระบุอาคารไว้อย่างละเอียด ผมจึงเริ่มกลับไปดู แผนที่กทมใ 2475 (สำรวจเมื่อ 2468)

       ซึ่งก็เป็นไปตามที่คาดครับ หลังจากเทียบระยะถนนและตำแแหน่งบ้านกับปัจจุบันแล้ว ก็พบว่า บ้านหลังนี้ถูกระบุไว้ในแผนที่เรียบร้อยแล้ว (จุดดำๆตรงกลางในวงกลมสีเขียวๆที่วงไว้ให้ครับ)(อาคารปูนระบายสีแดง อาคารไม้สีดำครับ)

       การสืบค้นก็ดำเนินต่อไปครับ ก่อน 2475 เท่าที่พอจะหาได้ก็มีแผนที่ 2450 ครับ ซึ่งทำการสำรวจระหว่าง 2448-2450 เมื่อวางเทียบตำแหน่งดูแล้วก็พบว่าตัวบ้านยังไม่ปรากฎครับ (ตรงที่วงสีเขียวไว้)

        ดังนั้นเราก็พอจะเดาได้คร่าวๆว่า บ้านน่าจะถูกสร้างระหว่าง 2450 ถึง 2468 ครับ อายุของบ้านถ้าเก่าสุดตอนนี้ก็จะอยู่ราวๆ 108 ปี ใหม่สุดก็ 90 ปีพอดีครับ

        เมื่อเทียบแล้วระยะเวลาดังกล่าวก็แทบจะอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทั้งหมด (ร.6 เสด็จสวรรณคตปี 2468 ปีเดียวกัน) การสืบค้นเช่นนี้ทำให้เราพอจะเดาอายุบ้านได้แคบลงอีกหน่อยคือ สถาปัตย์ในสมัย ร.6ตอนต้น และตอนปลายมีความต่างกับอยู่ในระดับหนึ่งคือ ลวดลายฉลุในสมัย ร.6 ตอนปลายจะมีน้อยมากครับ หรือแทบไม่ใส่เลย จะนิยมเล่นไม้ตรงๆเป็นทรงเรขาคณิตซะมากกว่า เพราะ เราเริ่มรับ ศิลปะ อาร์ตเดคโค่มาจากทาง ตะวันตกแล้ว ศิลปะ Neo-classical และ  Art Nouveau ในสมัย ร.5  เริ่มเสื่อมความนิยมลงในกลางรัชกาลที่ 6 ลองนึกถึง Centara Grand  หัวหินครับ เปิดใช้ปลายสมัยรัชกาลที่ 6 พอดีถือว่า ล้ำมากสมัยนั้น สังเกตุการเล่นลายฉลุในภาพนะครับ

         สังเกตุ ราวบันไดครับ ไม่ฉลุแล้ว เล่นลสยซี่ไม้ตรงๆพอ

เทียบกับบันได้ของบ้านครับ

ตามด้วยพวกช่องลมครับและราวระเบียง ไม่ฉลุแล้ว มีความเป็น Art Deco สูงเมื่อเทียบกับสมัยก่อนหน้านี้

       ดังนั้น ก็พอจะเดาได้ครับว่าน่าจะเป็นบ้านสมัยรัชกาลที่ 6 ตอนกลางถึงปลาย (ดูจากบันไดซึ่งไม่เคยถูกเปลี่ยนแปลงเลย) เมื่อพอทราบประวัติของบ้านแล้วก็เริ่มงานบูรณะได้เลยครับ

      จากการตรวจสอบ ฝาบ้านซึ่งเป็นไม้ก็ผุพังไปมากแล้ว บ้างก็มีปลวกกิน บ้างก็ผุเพราะโดนน้ำฝน จึงต้องจำใจรื้อออกทั้งหมดครับ รวมถึงหลังคาเดิมที่ฝนรั่วด้วย ครั้นจะเอาไม้จริงมาใช้เหมือเดิมก็มีปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูกมาก เลยตัดสินใจให้ทางทีมช่างใช้ไม้เทียม ไฟเบอร์ซีเมนต์ครับ พอเปลี่ยนฝาเสร็จ รูปร่างหน้าตาก็ออกมาเป็นแบบนี้ครับ

จากตอนแรกที่เป็นแบบนี้

         หลังจากนั้นก็เริ่มขัดสีเก่าส่วนที่ร่อนๆออกครับ พร้อมกับกันห้องตามประโยชน์ใช้สอยใหม่ ด้านล่างเปิดโล่งหมด ส่วนชั้นบนกั้นเป็นห้องนอน สี่ห้องครับ

ของเก่าเป็นแบบนี้

เริ่มด้วยการขัดผิวหน้าเดิมออกก่อน บ้านเก่ามากแล้วพื้นบางส่วนก็เริ่มบิดบ้าง ไม่ค่อยเรียบ ขัดปรับใหม่ให้เสมอกันครับ

         แล้วก็ตามมาด้วยการยาร่องไม่ สมัยก่อนอาจจะใช้ดินสอพองผสมสี แต่สมัยนี้มีแบบสำเร็จขายครับ ราคาไม่แพงมาก ใช้ดีๆก็ตกค่าใช้จ่ายประมาน 4 – 7 บาทต่อตารางเมตร แพงกว่าดินสอพองแต่ความสม่ำเสมอของสีดีกว่า และคงทนกว่าด้วยสารผสมพิเศษที่เขาใส่มาครับ ถือว่าคุ้มค่าเพราะดินสอพองถ้าโดนน้ำก็ร่อนละลายได้ง่ายอยู่เหมือนกัน  

       พอลงดินสอพองเสร็จก็ขัดละเอียดอีกรอบ แล้วก็เริ่มลงสีย้อมไม้ชนิดที่ใช้ทาพื้นครับ อันนี้เลือกเป็นสี Walnut เพราะอย่างให้พื้นออกมาดูน้ำตาลนิดๆครับ ถ้าทาสีใสไปเลยตัวไม้พื้นของบ้านนี้มันจะออกมาแดงๆครับ ไม่ค่อนตรงกับสไตล์ที่อย่างให้เป็นเท่าไร

สี Walnut

         พอลงสองรอบเสร็จพร้อมกับใส่กระจกหน้าต่างกลับคืนเข้าไป ก็ออกมาได้อารมณ์ประมาณนี้แล้วครับ สังเกตุผ้าในห้อง ของเดิมเป็นไม้แผ่นบางๆหน้ากว้าง ประมาน6 นิ้วตีทับกันไปมาครับ แต่โดนปลวกเล่นงานเข้าไป ของใหม่ผมจึงตัดสินใจใช้เสื่อรำแพนแทนครับ ราคาไม่หนีกันเท่าไรต่อตารางเมตร แต่เสื่อรำแพนให้ความรู้สึกที่ Exotic กว่า

ส่วนห้องอื่นๆของบ้านก็ประมานนี้

มาถึงจุดนี้ก็ประมานสามเดือนครับตั้งแต่เริ่มซ่อม

      หลังจากจัดการภายในตัวบ้านเสร็จก็เริ่มมาทาสีข้างนอกครับ หลายๆอย่างอาจจะไม่ได้ใช้วัสดุเดิมทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์ แต่ก็พยายามทำให้ตัวบ้านสามารถอยู่ได้จริงแบบร่วมสมัยมากขึ้นโดยไม่ทิ้ง spirit ของเดิมครับ อันนี้ด้านข้างของตัวบ้าน 

ด้านหน้าครับ ชั้นใต้ถุนก็ปรับไว้จอดรถได้

ถ้าใครชอบบ้านแนวนี้แนะนำให้มาเดินเที่ยวชมนะครับ แถวนี้มีมากมายหลายหลัง ดีบ้างโทรมบ้าง ตามสภาพ 

อย่างหลังนี้อยู่ห่างกันไปประมาน 200 เมตร

ตัวอย่างรูปครับ อันนี้ทางเข้าเขตสงฆ์ วัด มหรรนพ สร้างในปีไล่ๆกันครับ สมัยที่งานสถาปัตย์เริ่มเปลี่ยนสู้ความเป็นตะวันตก 

        อันนี้อีกหลัง อยู่ตรงข้างกันในซอย ถ่ายจากระเบียงบ้าน สภาพยังดีอยู่มากเพราะไม่เคยถูกต่อเติมเลย ลูกหลานก็รักษาไว้ดีมากครับ

       ส่วนอันนี้ ขนาดย่อมลงมาหน่อย ถ้าดูใกล้ๆก็จะรู้ว่าห้องด้านซ้ายถูกต่อเติมออกมาทีหลัง เดิมตัวบ้านน่าจะได้สัดส่วนและลวดลายกว่านี้ แต่ปัจจุบันถูกใช้เป็นบ้านเช่าครับ หลายๆหลังจะถูกต่อเติมแบบนี้เพราะเน้นประโยชน์ ใช้สอยมาก่อน

        ขออนุญาติชี้แจง ข้อสงสัยของหลายๆท่านนะครับ ตัวบ้านอยู่ฝั่งตรอกศิลป์ นะครับ  ไม่ได้อยู่ทางร้านศรแดง ฝั่งทางร้านศรแดงมีเหลืออยู่น้อยครับ ประมานแค่ สอง สามหลัง เท่าที่เห็น แต่ซุ้มประตูของบางหลังนี้สวยมาก บ้านยุคนี้ส่วนใหญ่นิยมทำซุ้มประตูเข้าบ้านครับ แค่มาเดินดูก็มีความสุขแล้ว

        ถ้าจะเอาประวัติบ้านจริงๆ ตัวบ้านเดิมมีพื้นที่กว้างมากนะครับ ประมาน 77 ตารางวา แต่ระยะเวลาที่ผ่านมาตัวโฉนดถูกซอยขายไปสองครั้งครับ คาดว่าลูกหลานคงนำไปแบ่งกัน และอีกส่วนหนึ่งยกเป็นทางสาธารณะไปครับ เพื่อให้คนท้ายซอยสามารถสัญจรได้ หลังจากที่เราเลิกใช้คลองกันไปแล้ว สภาพพื้นที่ที่เหลืออยู่ในตอนนี้จึงเป็นอย่างที่เห็นครับ บางบ้านลูกหลานพอไหวก็ไม่ได้แบ่งขาย บางบ้านก็เลือกที่จะแบ่งขายไปครับ

        หลังจากผ่านไปประมานแปดเดือน ก็เริ่มขนเฟอร์เข้าครับ เน้นไปทางสไตล์ Colonial หลายๆชิ้นเป็นงานเดิมที่ได้มากับตัวบ้านตอนซื้อ บางชิ้นก็ซื้อเข้ามาใหม่ครับ 

        ห้องนั่งเล่นด้านล่าง

        พยายามรักษาความขรึมไว้ครับ แล้วไปเล่นสีที่พวกผ้า พวกปลอกหมอนแทนเพื่อไม่ให้มันดูโบราณอุดอู้จนเกินไป สีเขียวของต้นไม้ก็ช่วยให้สดชื่นขึ้นมาได้ ลงตัวกับความเข้มของสีไม้ดี

       โอ๊ะลืมบอกไป ตอนซ่อมบ้านและขุดดินแถว บ้านก็เจอเหรียญพวกนี้ครับ ฝังอยู่โคนเสาต้นที่ผุแล้วเราเปลี่ยนใหม่ ชุดนี้พร้อมแหวนอยู่ใต้เสากลางๆบ้านครับ ใครพอจะรู้เรื่องแหวนพระลองดูให้ทีครับว่าเป็นของที่ไหน

       ส่วนเหรียญที่พบก็เป็นเหรียญ อัฐ เหรียญไพ สองสามเหรียญครับ น่าจะสมัย ร.5 เป็นเหรียญทองแดง สภาพเยินมากแล้ว

เหรียญเก่า 

ส่วนห้องนอนห้องอื่นๆก็ตกแต่ง ประมานนี้ครับ อันนี้ห้องนอนครับ

สวย

อันนี้ห้องนอนใหญ่

อันนี้ ห้องน้ำของห้องนอนใหญ่ครับ กระเบื้องและรูปแบบก็อกน้ำก็เลือกให้มีสไตล์ colonial ผสมอยู่ 

        อันนี้มุมระเบียงหน้าบ้านครับ เอาไว้นั่งคุยกับเพื่อนบ้านได้ คุยข้ามหลังกันเนี่ยแหละครับ มันเป็นวิถีของคนแถวนี้ ฝากซื้อของหน้าปากซอยก็ได้ สั่งอาหารตามสั่งกลางซอยก็ได้ อยู่กันแบบญาติๆครับ แปลกดี ใครที่นึกว่าเมืองไทยแบบสมัยก่อนหายไปไหน จริงๆมันก็อยู่เงียบๆแบบนี้มานานแล้วนะครับ เมื่อก่อนนึกว่าซอยนี้จะน่ากลัว ที่ไหนได้ ยังกับอยู่ตามต่างจังหวัด อยู่เป็นชุมชนครับ ถ้าถามว่าให้เลือกอยู่ที่ไหนในกทม ก็ยังได้คำตอบเดิมครับว่า เกาะรัตนโกสิทร์

ไม่เหมือนเมืองเก่าของเชียงใหม่ที่เดี๋ยวนี้ Chic  มากๆทั้งๆที่จริงๆแล้วกายภาพวัดวาอาราม ไม่แพ้กันเลยนะครับ

อ๊ะ ลืมอีกเรื่องนึง ใต้บันได้มีทางลง หลุมหลบภัยใต้ดินด้วยนะครับ 

       บ้านไหนไม่ได้สร้างที่หลบเองก็ไปอาศัยตามหลุมหัวลำโพง หรือตามวัด บ้านไหนพอจะมีกำลังก็คงสร้างไว้เองอย่างที่เห็นครับ มีการขุดบ่อน้ำไว้ด้วย ไอ้ฝาครึ่งวงกลมนั้นแหละครับ ไม่ลึกมากประมานเมตรนึง กรุงเทพน้ำนองครับขุดนิดหน่อยน้ำก็เจิ่งแล้ว

       มีรูปนึงที่เจ้าของบ้านเดิมเคยให้ดูไว้ครับ เป็นรูปสมัยเมื่อสัก 50 60 ปีมาเแล้ว เด็กตัวดล็กๆคือพี่ชายคุณป้า สังเกตุลายไม้ของระเบียงบ้านข้างหลังครับ ตอนผมซื้อมาไม่พวกนี้ถูกรื้อออกไปหมดแล้วเพื่อทำห้องเพิ่ม 

        แต่ตอนเรามาซ่อมก็คืนสภาพเดิมให้กับตัวบ้านก่อนต่อเติมครับ ของเดิมถูกตีทึบไปหมดแล้ว แต่บ้านไม้มักสังเกตุได้ง่ายว่า ส่วนไหนเก่า ส่วนไหนใหม่ เพราะรอยต่อและเนื้อไม้ที่ต่างกันมันจะฟ้อง ไม่เหมือนปูนครับ ฉาบทับ ทาสีใหม่ก็บอกยากแล้ว

       รูปข้างล่างนี้ ผมทำราวคืนให้กับช่องประตูครับ ใครเคยมีบ้านโบราณจะพอทราบว่า สมัยก่อนเขานิยมทำหน้าต่างยาวลงถึงพื้น แล้วทำราวกันตกเอา หลายๆหลังแถวนี้ก็ทำกันครับ กึ่งประตูกึ่งหน้าต่าง

หลายท่านถามหลังไมค์มาถึงสถานที่ล่าสมบัติที่เอามาแต่งบ้านนะครับ จะแจงให้ตามนี้นะครับเฟอร์ไม้สัก พวกเตียงนอน โต๊ะเขียนหนังสือ สั่งจากแพร่ครับ

เพื่อไม่ให้สับสนนะครับ ซอยนี้รถเข้าได้นะครับ ที่บ้านจอดได้สองคันนะเออ

      เป็นการรีโนเวทบ้านเก่าในสมัยโบราณที่มีประวัติศาสตร์อยากจะอนุรักษ์เอาไว้เลย เรื่องราวน่าสนใจเป็นอย่างมาก รีโนเวทออกมาสวยน่าอยู่เลย 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกพันทิปหมายเลข 1415794   


advertisement