advertisement

สร้างบ้านด้วยโครงสร้างเหล็ก สวยและแข็งแรง


advertisement

        บ้านโครงสร้างเหล็ก เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ได้รับความนิยมเช่นกัน ด้วยโครงสร้างที่มีความแข็งแรง วันนี้เราจะพาไปดูรีวิวบ้านโครงสร้างเหล็กอีกหนึ่งหลังเป็นของนักออกแบบบ้านบ้านๆ จากสมาชิกพันทิปหมายเลข 5557995  จะสวยขนาดไหนนั้น ตามไปดูกันเลยครับ 

         Plain plain designer's Steel House. บ้านหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในจังหวะและโอกาสที่เหมาะสม มีจุดประสงค์หลัก 2 อย่าง คือเป็นที่ทำงานและเป็นที่อยู่อาศัย โดยชั้นล่างตั้งใจ ให้เป็น home office ส่วนชั้นบนใช้เป็นที่อยู่อาศัย บ้านถูกออกแบบให้มีความเรียบง่าย และคำนึงถึงการใช้งานของผู้อาศัยเป็นหลัก มีการลดทอนส่วนที่ไม่จำเป็นและไม่ต้องการออก ลึกๆก็อยากให้ทุกท่านอ่านกระทู้ไปด้วยใจที่เปิดกว้าง เหมือนที่ผมเปิดและเตรียมใจ พร้อมรับทั้งส่วนดีและด้อย จากการสร้างบ้านด้วยเหล็กหลังนี้ด้วยความเต็มใจยิ่ง

        บ้านเหล็ก-สีดำ

       ก่อนที่ผมจะตัดสินใจเลือกสร้างบ้านเหล็ก ผมตั้งคำถามขึ้นมาหนึ่งคำถาม คือ "ถ้าเราทำบ้านเหล็กด้วยความใส่ใจ และพยายามให้ได้ผลลัพท์ ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แล้วบ้านหลังนี้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ ไม่ต่างจากบ้านที่ถูกสร้างอย่างดีด้วยปูนหรือไม้…แล้วมันจะดำรงอยู่ได้ อย่างมั่นคงปลอดภัยไปได้ซักกี่ปี ก่อนที่เราจะตัดสินใจสร้างบ้านหลังใหม่?" ดังนั้น บ้านเหล็กหลังน้อยหลังนี้จึงถูกสร้างอย่างตั้งใจ เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการดำเนินชีวิต ทั้งชีวิตงานและชีวิตครอบครัว แล้วเดี๋ยวเราก็ค่อยๆมาหาคำตอบกัน…เนาะ

       เริ่มโครงการ

       บ้านหลังนี้ ผมตั้งใจดูแลการก่อสร้างเอง ไม่ได้จ้างผู้รับเหมา และเนื่องจากผมทำงานออกแบบ ผมจึงเริ่มงานด้วยการวาดภาพในหัวคร่าวๆ แล้วค่อยลงมือเขียนแบบในคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมพื้นฐานสำหรับคนทำงานกราฟิก เลยได้แบบบ้านที่ดู…ง่ายจัง

แต่ก็ไม่ลืมคำนึงถึงเรื่องดิน ฟ้า อากาศ ก็เลยต้องลงลึกอีกสักหน่อยนึง


advertisement

        ความต้องการเบื้องต้น รับแดดเช้า ไม่เอาแดดบ่าย / อยากให้มีบานเฟี้ยม,บานเลื่อน และบานกระทุ้ง / ปูผนังบ้านด้วยไม้แผ่น แนวตั้ง / มีระเบียงเล็กๆ / ห้องน้ำใหญ่ๆ เพดานสูงๆ / บันไดนอกบ้าน / ภายนอกสีดำ / ภายในสีครีม หลังจากได้แบบบ้าน(คร่าวๆ)ที่พอใจ ก็มอบหมายให้ผู้ชำนาญการดำเนินการเขียนแบบที่ถูกต้องและขออนุญาตก่อสร้างแทน
ส่วนรายละเอียดและขั้นตอน ขออนุญาตข้ามไปเลยนะครับ

        ระหว่างรออนุญาตก่อสร้าง ก็จัดการเรื่องช่าง ซึ่งผมสรุปการทำงานไว้คร่าวๆ คือ


advertisement

        -ฐานรากและระบบท่อใช้ช่างปูน

        -ตัวบ้านจากชั้นล่างไปจนถึงหลังคาพร้อมทำสีใช้ช่างเหล็ก

        -งานเก็บรายละเอียดต่างๆไปจนถึงงานตกแต่งใช้ตัวเอง+ช่างฝีมือ

        หลังจากได้แบบบ้านที่ถูกต้อง และได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างได้แล้วก็ลุยกันเลย

        ฐานราก 

        ผมเลือกใช้ฐานรากแบบบ้านปูน ขนาดหลุม 1x1x1.5 ม. ผูกเหล็ก ทำฐานแผ่ เทฐาน เทคาน วางแผ่นพื้นคอนกรีต เทพื้น ฯลฯ ทุกอย่างถูกต้องตามที่ควรจะเป็น

ขั้นตอนเทพื้น ผมสั่งให้ plant ปูน ผสมน้ำยากันซึมลงในคอนกรีตด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้ความชื้นจากดินซึมขึ้นมาในบ้านครับ


advertisement

        ตั้งเสาชั้น1และ2 ผมเลือกใช้บีมขนาด 6×8 นิ้วเป็นเสา และ wide flange ขนาด 4×8 นิ้วเป็นคาน และใช้เหล็กกล่องขนาด 2×6 นิ้วเต็ม วางเป็นตงนะครับ ขออภัย ที่ไม่ได้ใช้ศัพท์เทคนิค ขอเรียกตามช่างนะครับ ผมเลือกคานและตงเหมือนบ้านสมัยเก่า คือวางคานบนหัวเสาแล้ววางตงทับลงบนคานอีกที

       ช่างให้คำแนะนำเรื่องการประหยัดค่าใช้จ่าย คือบ้านมี 9 เสา เราสั่งบีมความยาว 6 ม.มา 5 ต้น ตัดครึ่ง จะได้เสาบีม 3 เมตร จำนวน 10 เสา (เหลือเศษไว้ใช้งานหนึ่งเสา) เพื่อใช้รับน้ำหนักเต็มๆในชั้นล่าง ชั้นบนไม่ได้รับน้ำหนักมาก ก็ใช้เสาเหล็ก 6×6 นิ้วเต็ม วางต่อขึ้นไปจากคานอีกที ผมเห็นดีเห็นงามด้วย เนื่องจากประหยัดงบไปได้เยอะ จึงเป็นอันตกลงตามนั้นเลย


advertisement
โครงสร้างเหล็ก 

       ระยะระหว่างตงคือ 60 ซม. ซึ่งก็ลงตัวกับแผ่นวีว่าบอร์ดที่จะเอามาใช้ปูเป็นแผ่นพื้นชั้น 2 ก็เป็นอันว่าใช้ได้ (ลองให้ช่างวางตงระยะ 40 ซม. แล้วดูอึดอัดไปหน่อย) ไปกันต่อครั

       ตรงวงกลม เป็นรอยต่อระหว่างเสา 2×6 นิ้ว กับคาน ผมให้ช่างวางเพลทหนา 10 มม. ตรงตีนเสา ก่อนเชื่อมกับคานเพิ่มความแข็งแรง ซึ่งเราก็เช็คกับช่างโดยละเอียด ยืนยันว่าแข็งแรงดีครับ

        โครงหลังคา ผมคุยกับช่างว่าผมต้องการหลังคาที่มีความลาดเอียงไม่มาก ช่างก็น่ารักจัดให้ได้ตามที่เราต้องการ

แปหลังคาที่เห็นเป็นเส้นเล็กๆ คือเหล็กขนาด 1.5×1.5 นิ้วเต็ม ซึ่งเช็คแล้วก็แข็งแรงดีครับ

       เนื่องจากระยะเพดาน-ท้องหลังคาไม่สูง ผมจึงให้มีช่องใต้หลังคา เพื่อช่วยระบายความร้อนได้เร็วๆ จำเป็นต้องทำภาพอธิบายด้วย 555          อารมณ์ประมาณหลังคาครอบตัวบ้าน เหมือนใส่หมวก ใต้หลังคาจะได้ไม่เป็นเตาอบ จะช่วยได้มากหรือน้อยไว้คอยมาดูกันครับ

         มีช่องประมาณ 20 ซม. ด้านล่างชายคารอบตัวบ้านทั้ง 4 ด้าน จากนั้นก็ทำตะแกรงกันนกเข้าไปทำรังครับ

โครงสร้างแข็งแรงมากๆ 

         มุงหลังคา ช่วงที่ทำบ้าน เป็นช่วงปลายฝนกำลังจะเข้าหนาว ยังมีฝนประปราย วันก่อนมุงหลังคาได้ยินช่างคุยกัน "พรุ่งนี้ฝนอย่าตกนะ งานจะได้ไม่ติดขัด สาธุ สาธุ"

เร่งงาน  สมพรปากมั้ยล่ะคุณช่าง ฟ้าใสแดดเปรี้ยงงงงงง

ถึงกับต้องปีนลงมาพักเป็นช่วงๆกันเลยทีเดียว 555

        พื้นชั้น 2, โครงผนังเบา และบันได เสร็จจากมุงหลังคาก็ต่อด้วยปูพื้นชั้น 2 ด้วยวีว่าบอร์ด 20 มม

. วันปูพื้นผมไปช่วยช่างดึงแผ่นขึ้นบ้าน อดถ่ายรูปเลย​ โครงสร้างด้านบน 

ผมออกแบบให้บันไดอยู่นอกบ้าน เพื่อใช้งานพื้นที่ในบ้านได้เต็มที่ ซึ่งผมได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าปลอดภัยและเหมาะสมตามต้องการดี

บันได 

สวยมาก 

        ผนัง ทิศตะวันตก – ชั้นล่างผมเลือกทำเป็นผนังปูนขัดสีดำ ส่วนชั้นบนปูไม้เทียมแนวตั้งแบบบ้านยุคเก่า

ฝั่งนี้รับแดดบ่ายเต็มๆ ไม่ทำหน้าต่าง มีแค่สองบานเล็กๆ ชั้นสองตรงห้องนอน เพื่อระบายอากาศเท่านั้นครับ

         ทิศตะวันออก – ผมออกแบบให้เป็นกระจก เพื่อรับแสงและแดดตอนเช้า โดยทำโครงเหล็กรับกระจกทั้งชั้น1 – 2 ทั้งแถบ       แต่แล้วก็พบว่ามันเป็นรูปแบบที่ใช้กันทั่วๆไป เลยตัดสินใจปรับใหม่ เพราะอยากให้เกิดภาพที่ดูต่างหน่อย ซึ่งช่างก็ยินดีปรับให้ด้วยความหน้ามุ่ย 555 ก็เลยจบที่ลายนี้ ช่องสีฟ้าเป็นบานกระทุ้งครับ

สี ภายนอก-ดำด้าน ด้านทิศตะวันออก ที่ปรับโครงรับกระจกใหม่ครับ

ชั้นล่าง

       ภายใน

       -ใช้ cornsilk ทาพื้น ผนัง และเพดาน ให้เป็น background

       -ใช้ cream+egg shell ผสมให้เป็นเฉดเข้ม-กลาง-อ่อน ไว้ตกแต่งครับ

ทาสีเหลือสีเหลือง  สีสวย 

ชั้นบน

เรียบง่าย 

ดูอบอุ่น 

หน้าต่าง

งานตกแต่ง ยังไม่เสร็จ 100% ถึงตอนนี้ก็กำลังทำไปด้วยอยู่ครับ

รั้วหน้าบ้านทำเป็นเฟี้ยมครับ เวลาทำงานก็จะเปิดโล่ง

รอบบ้าน 

ไว้นั่งชิลๆ 

น่าอยู่มาก 

สวยมากๆ 

       เป็นบ้านโครงสร้างเหล็กที่ออกแบบออกมาได้สวยน่าอยู่มากๆ เลยทีเดียว ทั้งภายในและภายนอกดูทันสมัยและแข็งแรงมากๆ ดูไว้เป็นแบบเป็นไอเดียกันได้เลยครับ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สมาชิกหมายเลข 5557995 


advertisement