advertisement

สร้างเขื่อนผลิตไฟน้ำโขง เศรษฐกิจสวย แต่กระทบความมั่นคงทางอาหาร


advertisement

       การสร้างเขื่อน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และการชลประทานคือการพัฒนาหรือไม่? คำถามนี้อาจจะไม่ต้องถามรัฐบาลในระแวกลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อทุกประเทศต่างเตรียมที่จะสร้างเขื่อนทั้งสิ้น โดยเฉพาะโครงการเขื่อนกั้นแม่โขงสายหลักถึง 12 เขื่อน ได้แก่ ลาว 8 เขื่อน ไทย 2 เขื่อน และ กัมพูชา 2 เขื่อน

สร้างเขื่อน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

        ซึ่งจะเปลี่ยนให้สายน้ำที่ไหลหล่อเลี้ยงผู้คนประมาณ 60 ล้านคนกลายเป็นบ่อน้ำไปประมาณ 55% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพโดยเฉพาะปลาแม่น้ำโขงซึ่งมีมากกว่า 600 ชนิดซึ่งมีปลาขนาดใหญ่หนักกว่า 300 กิโลกรัมอย่างปลาบึกไปจนถึงกลุ่มปลาซิวปลาสร้อยตัวเล็กๆมากมาย


advertisement

       สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิตมนุษย์คืออาหาร จากข้อมูลนี้ทำให้เราเห็นถึงความสำคัญของสัตว์น้ำจากลุ่มแม่น้ำโขงต่อความเป็นอยู่ของกลุ่มคนที่มีรายได้น้อยในประเทศลาว ซึ่งการสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงสายหลักจะเป็นการทำลายระบบนิเวศในแม่น้ำโขงลง เช่นตัวอย่างจากแม่น้ำแยงซีในประเทศจีนซึ่งน้ำเสียและการสร้างเขื่อนทำให้ระบบนิเวศล่มสลาย จำนวนปลาหลัก 4 ชนิดลดลง 300 เท่า ในขณะที่ชนิดปลาในแม่น้ำสาขาลดลงจาก 143 ชนิดเหลือเพียง 17 ชนิด รวมทั้งทำให้ปลาขนาดใหญ่คือปลาฉลามปากเป็ดจีน และปลาโลมาน้ำจืด ตกอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์ ในขณะที่การเพาะพันธุ์ปลาเพื่อปล่อยลงในเขื่อน ซึ่งเป็นวิธีที่มักใช้เป็นข้ออ้างในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มจำนวนปลา ไม่สามารถช่วยแก้ปัญหาในระยะยาวได้เนื่องจากระบบนิเวศในเขื่อนไม่มีความเหมาะสมต่อการดำรงชีพของปล

ความมั่นคงทางอาหาร 


advertisement

        รัฐบาลที่ต้องการสร้างเขื่อน โดยอ้างการพัฒนาเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน จึงอาจจะต้องย้อนกลับมามองให้รอบด้านอีกครั้งว่าตัวเลขเศรษฐกิจที่สวยหรูนั้นจริงๆแล้ว กินได้หรือไม่?  


advertisement

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก  ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ 


advertisement