advertisement

จริงหรือ? อัยการ ผู้พิพากษา ได้เงินเดือนสองสามแสน? 


advertisement

      ผู้พิพากษา และอัยการ ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่สำคัญของฝ่ายรัฐในระบบยุติธรรมด้วยกันทั้งคู่ ซึ่งผู้พิพากษานั้นมีหน้าที่หลักคือ นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล และเป็นผู้ควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาลให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และมีอำนาจในการตัดสินพิพากษาคดี และเป็นผู้รับคำฟ้องร้องจากอัยการหรือทนายฝ่ายโจทก์ในการฟ้องร้อง รวมถึงกำหนดวงเงินในการประกันตัวสำหรับจำเลยหรือผู้ต้องหาด้วย ส่วนอัยการ คือเจ้าพนักงานของรัฐที่มีหน้าที่รวบรวมสำนวนคดีจากเจ้าพนักงานสอบสวนหรือตำรวจ แล้วรับมาดำเนินการต่อว่า จะฟ้องไปชั้นศาลหรือไม่ ถ้าสั่งฟ้อง อัยการก็จะเป็นทนายฝ่ายโจทก์ในการดำเนินคดีฟ้องเอาผิดจำเลยหรือผู้ต้องหาในคดีนั้นๆไป โดยอำนาจหน้าที่ของอัยการก็จะแตกต่างไปตามรูปคดี โดยทั้งอัยการและผู้พิพากษานั้นต้องทำงานร่วมกัน 

       ล่าสุด สมาชิกหมายเลข 1838027  สมาชิกเว็บไซต์พันทิป ได้ออกมาโพสต์ตั้งกระทู้ถามระบุว่า 'อัยการ ผู้พิพากษา เงินเดือนเท่าไรได้คะ เห็นว่าเยอะเป็นสองสามแสนเลยเหรอ ?'

       มันเยอะมากเลยเหรอคะ คนใกล้ตัวเราเรียนนิติตั้งใจอยากสอบผู้พิพากษา อัยการ เค้าบอกเงินเดือนดีมากเลย แถมไม่มีเส้นด้วย แล้วเงินเดือนเท่าไรได้คะอาชีพนี้ เห็นเพื่อนบอกได้เยอะเป็นสองสามแสนเลย ยากรู้ว่ามันจริงรึปล่าว ? เห็นเป็นอาชีพข้าราชการด้วย

      จากนั้นได้มีชาวเน็ตตหลายๆท่านเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันอย่างมากมาย ดังนี้

ความคิดเห็นจากคุณ กระรอกฟ้าขาเดฟ 

    หลักแสนครับ แต่! อย่าคิดว่าจะได้เป็นกันง่ายๆ และอย่าคิดว่าไม่มีเส้นสาย ถ้าไม่เชื่อผม คุณไปเปิดดูนามสกุลของบรรดาผู้พิพากษาดู 

ความคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 717619  

    น้าเราอัยการค่ะ เดือนละประมาณ150,000 ค่ะ

ความคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 1128205  


advertisement

    รู้แต่อัยการผู้ช่วย  เงินเดือน +ค่าครองชีพชั่วคราว ได้ 35,000  บ.

ความคิดเห็นจากคุณ Run_Lucifer 

    เส้นมันมีทุกวงการครับ จะมากน้อยคืออีกเรื่อง แต่มันไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ นะครับ สำหรับผู้พิพากษา อัยการ 

ความวคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 1490399 

    2-3 แสน คงระดับผู้พิพากษาอาวุโสศาลฎีกา นับคนได้

ความคิดเห็นจากคุณ สมาชิกหมายเลข 1916617  

     ในช่วงรัฐบาลชวน 2 (พ.ศ. 2540-2544) ที่ได้มีการกำหนดเงินเดือนของผู้พิพากษาและอัยการให้ได้รับในอัตราสูงเป็นพิเศษเหนือเงินเดือนของข้าราชการประเภทอื่น  ท่านชวนฯแกถือเป็น คนในวงการนักกฎหมายแท้ๆ คนหนึ่งแห่ง ธรรมศาสตร์ Connection ทำให้วิชาชีพนักกฎหมายได้รับความนิยมสูงสุดในสังคมไทยใน ดังปรากฏว่าการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยในระยะหลายปีมานี้ สาขานิติศาสตร์ได้รับความนิยมสูงสุดจากผู้สมัครสอบ และการเลื่อนชั้นก็เป็นแบบขั้นบันไดไปตามอายุงาน มีพ่อแม่ที่เป็นผู้พิพากษา,อัยการ หรือ ทำงานในแวดวงวกฎหมายจำนวจไม่น้อย ที่วางอนาคต  1..2 ..3 …4 ไว้ให้ลูกหลานสอบได้เป็นผู้พิพากษา หรือ อัยการตั้งแต่อายุกน้อยๆ ( 25-26 ปี ) ถ้าอายุยืน ไม่ตายเสียก่อน โดยระบบเลื่อนขึ้นไปเรื่อยๆ ก็มีโอกาสไปถึงประธานศาลฎีกา หรือ อัยการสูงสุดได้ ถ้าไปถึงหลายคน คนที่ได้รับการรับเลือกคือ … ก็แล้วแต่บุญวาสนาที่แข่งกันไม่ได้

     ตัวอย่างเงินเดือน และ เงินประจำตำแหน่ง อัยการ ของปี 54 ของศาลก็ใกล้เคียงกัน แต่มีค่าอื่นๆนอกเหนือจากนี้อีก จิปาถะ รวมถึงสวัสดิการ เบิกค่ารักษาพยาบาล คนในครอบครัว ค่าส่งเสียเลี้ยงดูบุตร และ เครดิตพิเศษทางการเงินจากธนาคาร เพราะถูกจัดอยู่ในอาชีพพิเศษ

     เอาเป็นว่าถ้าใครบ้านไม่ได้ทำธุรกิจที่มีวงเงินหมุนหลัก 50 ล้าน +  ก็ถือเป็นตำแหน่งงานที่ดีมากๆ ครับ


advertisement

ความคิดเห็นจากคุณ janjubujubu 

     ที่รู้ๆมา อัยการหลักหมื่นนะคะ แต่ผู้พิพากษานี่ เป็นแสนค่ะ ของคนที่รู้จัก 3 แสนค่ะ  แต่ว่าเป็นอาชีพนี้นี่ ลำบากนะคะ ไปไหนมาไหนกับคนอื่นไม่ค่อยได้  ประเจิดประเจ้อไม่ได้ เหมือนต้องอยู่คนเดียวค่ะ จะคบได้ก็แต่ผู้พิพากษาด้วยกัน เรายังคิดเลย ไม่ดีเลยอ่ะ เขาให้บ้านอยู่หลังใหญ่ๆ บ้าน 1 หลัง ในนั้นจะมี ห้องนอน ห้องน้ำ มีฟิตเนส มีทุกอย่างพร้อมค่ะ  เพื่อไม่ให้ไปคลุกคลีกับคนอื่น เราว่าอาชีพนี่ต้องรักสันโดดจริงๆค่ะ ถ้าชอบสังสรรค์ไม่แนะนำอย่างแรงค่ะ 

     นับว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่หลายๆคนไฝ่ฝัน เพราะนอกจากจะมั่นคงแล้ว ค่าตอบแทนยังสูงมากอีกด้วย แต่ทั้งนี้หน้าที่ความรับผิดชอบก็เยอะเหมือนกัน ถ้าใครสนใจอาชีพนี้ก็ลองศึกษาหาข้อมูลดูนะคะ 

ขอขอบคุณที่มาจาก : pantip.com 


advertisement