advertisement

อุทาหรณ์สร้างบ้าน ไม่เชื่อสถาปนิก สุดท้ายเจอปัญหาใหญ่


advertisement

      การสร้างบ้านจะต้องมีการออกแบบวางแผนการสร้างให้เป็นอย่างดี เพราะถ้าวางแผนกันไม่ดีนั้นอาจจะเกิดปัญหาตามมาภายหลังสร้างเสร็จได้ ฉะนั้นการออกแบบบ้านต้องให้นักออกแบบบ้าน หรือว่าสถาปนิกในการออกแบบจะได้มาตรฐานมาก ล่าสุดทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Jakkachaisorn Phengsin ได้โพสต์อุทาหรณ์การสร้างบ้านที่ไม่เชื่อสถาปนิก เกิดปัญหาใหญ่ยังไงนั้น ตามไปดูกันเลยครับ 

        รู้งี้เชื่อสถาปนิกดีกว่าEP-2 รูปดังกล่าว เป็นบ้านของคุณลุงท่านนึง ที่มีego สูงมาก สร้างบ้านโดยการควบคุมงานเอง และไม่จ้างสถาปนิกออกแบบและควบคุมงาน พอดีขับรถผ่านไปจึงขอเข้าไปดูงานก่อสร้าง และพบว่าช่างมักง่ายและเลวร้ายมาก เทเสาไม่เต็มเลยซักต้น และขึ้นโครงหลังคาเสร็จเรียบร้อย แล้วจากไป(เนื่องจากเจ้าของจ้างช่างแต่ละเจ้าแยกกัน). ทางผมได้เอารูปให้ทีมวิศวกรของบริษัทดู เห็นตรงกันว่า การรับน้ำหนักของเสาได้ขาดช่วงไป และอาคารอาจเกิดการวิบัติได้. โดยโครงหลังคาทั้งหมด อาจเกิดการเคลื่อนตัวและพังทลายได้  ลองสอบถามผู้เชี่ยวชาญดูนะครับว่าจริงรึเปล่า

        #สถาปนิกสามารถช่วยท่านได้ #ปรึกษาสถาปนิกไม่ใช่เรื่องยาก #รับConsult งานก่อสร้าง-ตกแต่งภายในทุกชนิด ทั่วประเทศ #A1 Design Studio

แบบนี้ก็ได้หรอ 


advertisement

รู้งี้เชื่อสถาปนิกดีกว่า EP-3


advertisement

         คุณเชื่อหรือไม่. ช่างหรือผู้รับเหมาส่วนใหญ่ ไม่ล้างท่อหรือทำความสะอาดท่อก่อนประกอบระบบประปา 2 ภาพบน คืองานระบบประปาที่ไม่มีการใส่ใจในsiteงานก่อสร้าง ผมเจอและเห็นมาเยอะมาก เมื่อช่างประปาเข้ามาทำงานแล้วต่อระบบท่อประปาเลย เนื่องจากการล้วงทำความสะอาด หรือใช้น้ำฉีดไล่สิ่งอุดตัน เป็นสิ่งที่ช่างชาวบ้านหรือทีมงานที่ไม่มีจรรยาบรรณไม่ใส่ใจ ทำเสร็จแล้วก็หนีเลย ไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมาตอนoperating 


advertisement

        รูปที่3 เป็นรูปที่ควรยึดเป็นมาตรฐานในการเดินระบบประปา สุขาภิบาลครับ เนื่องจากมีการปิดท่อ ป้องกันสัตว์หรือเศษวัสดุเข้าไปอุดตันในระบบ ไม่อยากเสียใจควรสอบถามผู้เชี่ยวชาญนะครับ สถาปนิกควรเป็นผู้ช่วยเจ้าของโครงการในการตรวจสอบนะครับ #A1 Consultant  #A1 Design Studio

รู้งี้ เชื่อสถาปนิกดีกว่า EP-4


advertisement

       งานนี้มั่วแบบโหดร้ายมาก.  ขอเชิญผู้รู้มาshares ความเห็นหน่อยครับ สืบเนื่องจากบ้านหลังเดิม แนวที่ผมชี้คือ การถ่ายน้ำหนักของหลังคา ลงสู่ คาน ไปสู่เสา และผนัง ผมเชื่อว่าไม่น่ามีวิศวกร หรือสถาปนิกท่านใด ออกแบบและเขียนแบบออกมาแบบนี้แน่นอนครับ เส้นสีแดงด้านบน ควรต้องมีคานยื่นออกมารับdeath load ของหลังคา และ โครงหลังคา (ที่ over spec) แถมยังถ่าย load ลงเหล็กแกนแค่ 4 เส้น ในแต่ละเสา และเส้นสีเขียว ต้องมี ย้ำนะครับ เสาเอ็นหรือเสาจริงพร้อมFootings รองรับด้วยนะครับ ลองคิดดูว่าถ้าหลังคาเกิดการเคลื่อนตัวผนังบริเวณนี้จะมีสภาพเช่นไรครับ และเอ็นที่อยู่ในวงสีแดง เมื่อติดตั้งหน้าต่างAluminium จะเกิดการบิดตัว ทำให้เปิดปิดยากในภายหลังครับ

แย่มาก 

        รู้งี้เชื่อสถาปนิกดีกว่า EP 5. ตอนนี้เจ้าของบ้านโดน ผรม เจ้าแรก เบิกเงินเกินไป เกือบแสนแล้วครับ. และได้ให้เจ้าแรกออกไปแล้ว. ตอนนี้มีเจ้าใหม่เข้ามา. ซึ่งผมดูการทำงานแล้ว. ไม่ต่างจากเจ้าเดิมเลยครับ. การทำงานมีดังนี้

        – พอเข้ามาก็เริ่มจับเซี๊ยม เลย โดยไม่ดูโครงสร้างเดิมเลยว่าแข็งแรง ถูกต้องหรือไม่. มาถึงก็ทำเลย

        – เจ้าของสั่งปูนโครงสร้าง มาฉาบผนังอาคาร( เพื่ออะไร)

        -ช่างเจ้าใหม่ ทำงานก๊อกๆแก๊กๆ เพื่อดึงค่าแรงรายวัน ไปวันๆ.

        -ตอนนี้. ช่างมาๆหยุดๆ. น่าจะทิ้งอีกรอบครับ และจากรูป update ก็เห็นอนาคตแน่นอนแล้วว่า”บ้าน” เมื่อแล้วเสร็จจะเป็นเช่นไร ได้คุยกับเจ้าของบ้านแล้ว แต่ไม่เชื่อผู้แนะนำเลยซักอย่าง.#ผมตั้งใจให้ post นี้เป็นอุทาหรณ์ สำหรับท่านที่คิดจะสร้างบ้านเองได้ดูใว้เป็นตัวอย่างนะครับ ส่วนผมจะตามดูต่อไปว่าบ้านจะเป็นอย่างไรเมื่อมีการใช้งานแล้วครับ (เป็นresearch program)

ช่างออกแบบกันเอง 

ไม่มีเสา

ไม่แข็งแรง 

รั่วซึมได้ 

       เจอช่างแบบนี้บอกเลยว่าเจ้าของบ้านแทบจะร้องไห้กันเลยทีเดียว ออกแบบเอง คุมงานเอง เจอช่างที่ไม่ชำนาญหรือว่ามักง่ายในการทำงาน บ้านก็เลยออกมาแบบนี้ ไม่แข็งแรง มีตำหนิหลายจุดเลยงานนี้ 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Jakkachaisorn Phengsin  


advertisement