advertisement

ใช้บอลพลาสติก ลดช่องว่างประหยัดคอนกรีต


advertisement

      การเทพื้นทั่วไปที่เราเคยเห็นในงานก่อสร้างก็คงจะเป็นงานเทพื้นเสริมคอนกรีต เพื่อความแข็งแรงรับน้ำหนักได้ตามมาตรฐาน แล้วแต่การใช้งานของพื้นส่วนนั้นๆ ซึ่งการเทพื้นมีหลายรูปแบบและอาจจะมีบางแบบที่หลายคนไม่เคยเห็น 

       อย่างล่าสุด ทางด้านผู้ใช้เฟสบุ๊ก Peerapol Khamlapis เกี่ยวกับพื้นกลวงแบบบับเบิ้ลเด็ค ที่ใช้ลูกบอลพลาสติกแทนช่องว่าง แล้วล็อคด้วย เหล็กเส้น กันขยับ ก่อนเทปูนทับ เป็นการลดการใช้ปูนได้เยอะ แล้วแบบนี้ความแข็งแรงจะเป็นยังไง โดยระบุว่า…. 

เห็นว่าใช้บอลพลาสติก 1 kg. ทำให้สามารถประหยัดคอนกรีตได้ 100 kg. แล้วมันมีผลต่อความแข็งแรงและรับน้ำหนักไหมครับ 


advertisement

Bubble deck 

ใส่ลูกบอลพลาสติกบนพื้นคอนกรีต 


advertisement


advertisement

 ก่อนจะเทคอนกรีตทับ 

โครงสร้างทรงกลมกลวง ที่แทรกตัวอยู่ระหว่างระบบพื้น 


advertisement

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 

       หลักการเหมือนให้ลูกบอลไปเป็นแม่พิมพ์แทนที่คอนกรีตในส่วนที่ไม่ได้เป็นแนวแรงสำคัญในการรับแรง ทำให้ลดปริมาณคอนกรีตในส่วนนั้นลงไปได้ ช่วยลดน้ำหนักโครงสร้าง เหมือนโครงสร้างทรงลูกฟูก โครงสร้างพื้นวอฟเฟิล ประมาณนั้น ในเมืองไทยที่ทำกันมานานแล้วก็จะเป็นการวางแทนทีด้วยโฟมความหนาแน่สูงไม่ยุบตัวง่าย ๆ ความหนาแน่นสองปอนด์ขึ้นไป เป็นก้อนสี่เหลี่ยม วางเรียงกันเพื่อลดน้ำหนักพื้นที่เทเสริมทีหลังเพื่อปรับความสูง หรือท็อปปิ้งสแล็บหลังคากันความร้อน 

       ขออนุญาตตอบนะคะ ลูกบอลนี้ไม่มีผลต่อความแข็งแรงและเรื่องของการรับน้ำหนักเลยค่ะ เวลาเขาดีไซน์เขาจะดีไซน์ให้ neutral axis อยู่เหนือลูกบอล ไม่เฟลที่ลูกบอลค่ะ ที่ไทยตอนนี้มีตึก T1 ของคุณตันที่ใช้ระบบนี้นะคะ เป็นตึกแรกในไทย ผรม.คือบริษัท ฤทธา และระบบนี้ทำโดยบริษัท GEL ค่ะ สอบถามเพิ่มเติมได้นะคะ 

       วัตถุประสงค์ของลูกบอลนี้ ไม่ได้ทำมาเพื่อใช้งานแทนคอนกรีต เพราะลูกบอลตัวนี้ ทำมาจากวัสดุรีไซเคิล เป็นพลาสติกธรรมดาๆเลยค่ะ แต่หลักการมันคือ ทำมาเพื่อให้มีช่องว่างในพื้น ซึ่งพื้นตรงนั้น ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีคอนกรีตเต็มพื้นค่ะ

         การใส่ลูกบอลพลาสติก (plastic voided former) ทรงกลมหรือทรงรี ฝังไว้ในพื้น อยู่ระหว่างเหล็กเส้นชั้นล่าง และเหล็กเส้นชั้นบน จัดตำแหน่ง และล็อกระยะเท่าๆกันเป็นแบบตาราง ก่อนจะเทคอนกรีตทับ โครงสร้างทรงกลมกลวง ที่แทรกตัวอยู่ระหว่างระบบพื้น ช่วยลดน้ำหนักพื้นลงได้ นั่นหมายความว่า แรงตึงในส่วนฐานจะลดลงไปด้วย ขณะที่การถ่ายแรงแบบ 2 ทางนั้น ทำให้ตัวโครงสร้างไม่จำเป็นต้องมีคาน มันจึงสามารถรองรับการออกแบบ ที่เน้นความเรียบและน้อยได้ทุกรูปแบบ และประหยัดวัสดุโดนเฉพาะซีเมนต์นั่นเอง  

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก Peerapol Khamlapis 


advertisement