advertisement
คงเป็นยาสามัญที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีค่ะ สำหรับยากลุ่มไอบูโปรเฟน ที่สามารถลดอาการปวด อักเสบ ปวดท้องประจำเดือน ปวดศรีษะ หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื่อต่างๆ เรียกได้ว่าเป็นยาที่ใช้บรรเทาหลายๆอาการที่หลายคนมักจะมีติดบ้าน
ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือยาในกลุ่ม NSAIDs โดยไอบูโพรเฟนจะอยู่ในรูปแบบเม็ดยา ขนาด 200 มิลลิกรัม และขนาด 400 มิลลิกรัม นอกจากยังมีในรูปแบบยาน้ำ ขนาด 100 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร และแบบเจล สำหรับทาภายนอก
สรรพคุณของไอบูโพรเฟนมีมากมาย อาทิ ลดอาการอักเสบ ลดปวดในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง สามารถใช้ลดไข้ แก้ปวดประจำเดือน ปวดไมเกรน หรือบรรเทาอาการปวดจากข้ออักเสบ และอาการปวดเมื่อยเนื้อตัวจากการออกกำลังกายได้ เพราะยาไอบูโพรเฟนจะไปยับยั้งการสร้างสารพรอสตาแกลนดิน (prostaglandins) ที่ทำให้เกิดอาการปวดและอักเสบ
ความแตกต่างระหว่าง ไอบูโพรเฟน พาราเซตามอล และแอสไพริน คือ ยาทั้ง 3 ชนิดเป็นยาแก้ปวดเหมือนกัน แต่พาราเซตามอลจะเป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์ระงับอาการปวดอ่อนๆได้ดี ลดไข้ได้ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร จัดเป็นยาแก้ปวดที่มีความปลอดภัย สามารถซื้อกินเองได้ แอสไพริน จะเป็นยาแก้ปวดที่มีสรรพคุณคล้ายพาราเซตามอล แต่จะออกฤทธิ์ต่ออาการบวมได้ดีกว่า ป้องกันภาวะแทรกซ้อนของหลายโรคได้ มีผลข้างเคียงจากการใช้ยามากกว่าพาราเซตามอล เช่น เลือดออกในระบบย่อยอาหาร เป็นต้น และไม่ควรใช้กับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ
ส่วนไอบูโพรเฟน เป็นยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์แรงกว่าพาราเซตามอล ใช้ระงับอาการปวดระดับปานกลางถึงรุนแรงได้ และยังมีสรรพคุณแก้อาการอักเสบได้ดีกว่า แต่ยาชนิดนี้จะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ ดังนั้นควรรับประทานหลังอาหารทันที
advertisement
การใช้ไอบูโพรเฟนให้ปลอดภัย
advertisement
– เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี รับประทานครั้งละ 10 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
– ผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 400 มิลลิกรัม
– กินตามน้ำหนักตัว แต่ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน
หากยังมีอาการปวดอยู่ แต่ลืมกินยา ให้กินยาทันทีที่นึกได้ หรือถ้าใกล้ถึงเวลากินยารอบต่อไปแล้ว ก็ให้ข้ามมื้อที่ลืมไปได้เลย แล้วกินยาตามรอบปกติ โดยไม่ต้องเพิ่มขนาดยา อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรกินยาไอบูโพรเฟนหลังอาหารทันที และให้ดื่มน้ำตามมากๆ เพราะยาอาจระคายเคืองกระเพาะอาหารได้ [ads]
ผลข้างเคียงของยาไอบูโพรเฟน มีดังนี้
– ปวดท้อง โดยเฉพาะผู้ที่มีแพ้ในกระเพาะอาหาร
– คลื่นไส้ อาเจียน
– บวมตามแขน ขา โดยเฉพาะผู้มีภาวะไตบกพร่อง
ข้อควรระวังในการกินยาไอบูโปรเฟน
– ห้ามกินยาตอนท้องว่าง เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร
– ห้ามใช้ยานี้กับผู้ที่มีประวัติแพ้ยาไอบูโพรเฟน หรือยาในกลุ่ม NSAIDs
– ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ
– ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยไข้เลือดออก เพราะไอบูโพรเฟนเป็นยาที่มีผลยับยั้งการจับกลุ่มเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยไข้เลือดออก มีภาวะเลือดมากขึ้น จนเกล็ดเลือดในร่างกายต่ำลงถึงจุดที่อันตรายต่อชีวิต
– ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหอบหืด โรคไต โรคตับ โรคหัวใจ เบาหวาน ความดัน และผู้มีแผลในกระเพาะอาหาร
– ระวังการใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์
– ระวังการใช้ยานี้ในผู้สูงอายุ
– ไม่ควรกินยาไอบูโพรเฟนติดต่อกันนาน ๆ เพราะอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจวาย
ยาที่มีสรรพคุณมากมายเช่นนี้ ก็ย่อมมีผลข้างเคียงเช่นกัน ซึ่งทางที่ดีเราควรจะใช้ให้ถูกต้อง ก็จะให้ประโยชน์มากมายเลยทีเดียวค่ะ
เรียบเรียงโดย : thaihitz.com
advertisement