advertisement

ห่วง กยศ. ขาดสภาพคล่อง ลูกหนี้ไม่ชำระมากกว่า 9.7 หมื่นล้าน หวั่นกระทบรุ่นน้อง


advertisement

      กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. เป็นหน่วยงานของรัฐอยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาด้วยการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ในลักษณะต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 

      ล่าสุด (15 พฤษภาคม 2567) นายณัฐชา บุญไชยอินสวัสดิ์ ประธานคณะ กมธ. การสวัสดิการสังคม แถลงข่าว ผลการประชุมคณะ กมธ. เรื่องการดำเนินงานของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ซึ่งสรุปคร่าว ๆ ได้ดังนี้

      – ภาพรวมของ กยศ. มีผู้กู้ยืมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันจำนวน 6,809,598 ราย

      – เงินให้กู้ยืมนับตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน มีจำนวน 769,776 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567) 

       – ตั้งแต่ปี 2539 – 2560 มีการใช้งบประมาณแผ่นดินเพื่อจัดสรรให้กู้ยืม กยศ. ทั้งหมด 468,673 ล้านบาท

      – แต่ตั้งแต่ปี 2561-2567 กยศ. ไม่ได้ใช้งบประมาณของแผ่นดิน

      – ในปีการศึกษา 2567 กยศ. ทำกรอบให้กู้ยืมได้ทั้งหมด 769,009 ราย เป็นจำนวนเงิน 48,344.4208 ล้านบาท


advertisement

      – ปัจจุบันมีเงินต้นที่ผิดนัดชำระหนี้เป็นจำนวนเงิน 97,110 ล้านบาท 


advertisement

       ทั้งนี้ การกู้ยืมเงินจาก กยศ. ไม่ได้กำหนดให้มีผู้ค้ำประกันแล้ว และ กยศ. มีลักษณะเป็นกองทุนหมุนเวียน และเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 มีการนำเสนอส่วนแผนงานการติดตามหนี้ของ กยศ. โดย สาเหตุเกิดจากผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน 

       สำหรับปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของ กยศ. ที่ขาดสภาพคล่องนั้น ในปีงบประมาณ 2568 กยศ. ได้จัดทำคำของบประมาณแผ่นดิน เป็นจำนวนเงินประมาณ 19,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะได้รับจัดสรรประมาณ 1,000 ล้านบาท สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาในกรณีงบประมาณไม่เพียงพอจะขอใช้งบประมาณในส่วนของงบกลางเพื่อเพิ่มสภาพคล่องของ กยศ. ต่อไป

      คณะ กมธ.ได้พิจารณาแล้ว เห็นว่า กยศ. เป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ด้านการศึกษาที่มีความสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต จึงควรได้รับการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาดังนี้ 

      1. รัฐต้องเข้าไปสนับสนุนวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีไปที่กองทุน กยศ. เพื่อขับเคลื่อนและตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนที่ต้องการทุนการศึกษาต่อไป

       2. สร้างความตระหนักรู้ให้กับผู้กู้ช่วยกันชำระหนี้ให้กองทุน กยศ. เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้กับคนรุ่นต่อไป 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก สภาผู้แทนราษฎร


advertisement