advertisement

กระจ่างแล้ว ทำไมถึงไม่ควรก่ออิฐแนวเอียง ส่งผลเสียต่อบ้านกว่าที่คิด


advertisement

          เป็นภาพที่เราอาจจะเคยเห็นแชร์กันอยู่ในโลกโซเชียล สำหรับ การก่อผนังบ้านแปลกๆ เป็นการก่ออิฐผนังแนวเอียง ซึ่งปกติแล้วช่างจะก่ออิฐในแนวแนวและตั้งฉากเป็นแนว X และ Y เพราะว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด โครงสร้างสมดุล แข็งแรง แล้วการก่ออิฐผนังเอียงๆ ทำไมถึงไม่เคยทำ จะส่งผลเสียงยังไงต่อโครงสร้างของบ้านขนาดไหน โดยทางด้านเพจเฟสบุ๊ก ฉิบหายแล้วบ้านกู ก็ได้โพสต์ภาพและอธิบายอย่างละเอียด ระบุว่า.. 

         การถ่ายแรง คือหัวใจสำคัญในการสร้างบ้าน และการถ่ายแรงอย่างตรงตามแนวแกน X และ Y คือดีที่สุด simple is the best หลักการง่ายๆ เข้าใจไม่ยาก ไม่ต้องมีผลรับรองวิจัยจากคิงส์คอลเลจ แอดเหลาให้ฟังเองนี่แหละ

         การสร้างอาคาร คือการเอาของต่างๆมาเรียงกัน ให้เกิดเป็นพื้นที่ใช้สอยขึ้นภายใน มีพื้นให้ใช้เหยียบ มีหลังคาเอาไว้บังแดด  จากนั้นค่อยคิดถึงฝาบ้าน ประตูหน้าต่าง ทีนี้ของทุกอย่างมันก็มีน้ำหนักของมัน และของทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎแรงดึงดูด คือมันจะต้องถูกดึงลงพื้นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก และการดึงนั้นจะเป็นการดึงแบบตรงๆลงมา

         ดังนั้นเมื่อเราอยากเอาอะไรไปวางไว้บนหัวเรา ให้เกิดเป็นหลังคา หรือ พื้นชั้น 2  สิ่งที่เราต้องทำก็คือ เอาเสาไปค้ำพื้นหรือหลังคานั้นให้ลอยไว้ พูดเหมือนง่าย แต่ในความจริง เมื่อพื้น หรือ หลังคามันมีน้ำหนักมาก จะเอาเสาไปยันไว้ ก็ต้องใช้เสาหลายๆต้น วางติดกันถี่ๆเพื่อรับน้ำหนัก ปัญหาก็เกิด เพราะเสาเยอะมันก็จะกินพื้นที่ใช้งาน กลายเป็นทำชั้นสองได้ แต่ชั้น 1 ใช้งานไม่ได้ไป วิธีแก้ไม่ยาก อยากให้เสาห่างกันก็เติมคานเข้าไป แล้วเอาน้ำหนักของพื้น หรือ หลังคาที่อยู่ข้างบน ถ่ายลงไปที่คานก่อน แล้วค่อยให้คาน ไปถ่ายน้ำหนักลงเสาอีกที ทำแบบนี้ เสาก็จะลดน้อยลง มีพื้นที่ให้ใช้ได้มากขึ้น

         ทีนี้ ในการสร้างอาคาร การทำโครงสร้างของเรา ก็เริ่มต้นจากกาใช้ไม้ มาเป็น หิน แล้วก็มาเป็นคอนกรีต จนเป็นโลหะในที่สุด แต่ไม่ว่าจะใช้วัสดุอะไร เราก็จะรู้ว่า การตั้งเสาให้ตรง แล้วถ่ายน้ำหนักลงมาให้ตรงๆ จะเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและใช้ของประหยัดที่สุด นั่นก็เพราะ แรงในแนวแกน X และ Y มันง่ายต่อการจัดการ อีกทั้ง ด้วยวัสดุยอดนิยมของเราที่เรียกว่า คอนกรีตเสริมเหล็ก มันก็เป็นวัสดุที่รับแรงอัดได้ดี แต่ไม่เก่งในการรับแรงดึง การทำให้น้ำหนัก ถ่ายเทมาในรูปแบบของการอัด การกด จึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับรูปแบบของโครงสร้างที่สุด นี่คือพื้นฐานที่ต้องเข้าใจก่อนจะไปคุยกันว่า ทำไม่แอดถึงบอกว่า การก่ออิฐอย่างในภาพ ทำ ไม่ ได้

         เมื่อเข้าใจพื้นฐานแล้ว เรามาดูและคุยกันในภาพจริงเลย จะเห็นว่า รูปที่แอดใส่ลงมา ถ้าเป็นส่วนที่เป็นรูปวาดด้านซ้ายมือ จะแสดงให้เห็นว่า น้ำหนักจะถูกถ่ายลงคาน แล้วส่งต่อไปที่เสา  แล้วค่อยถ่ายลงดินไป ซึ่งเป็นวิธีที่ซิมเปิล แต่ในรูปถ่ายด้านขวามือ จะเห็นว่า ผนังได้ถูกก่อไว้เอียงๆ ดังนั้นในการถ่ายแรง น้ำหนักของผนังเอียงๆอันนั้น ก็จะไม่ได้ถ่ายลงที่คาน แล้วค่อยให้คานส่งไปเสาแล้ว แต่จะกลายเป็นว่า น้ำหนักของผนังจะถ่ายเทกันแบบกระเท่เร่ แล้วส่งไปที่เสาต้นซ้ายมือโดยตรงแบบไดเรคเซลล์ ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางอย่างคุณเสาแม้แต่น้อย เสาที่มีวางไว้สองต้นซ้าย ขวา ของผนัง ที่เคยแชร์สิ่งต่างๆร่วมกันไม่ว่าจะสุข จะทุกข์ หรือน้ำหนักของผนัง ก็กลายเป็นว่า เสาต้นซ้ายมือต้องมารับผิดชอบทุกอย่างอยู่ฝ่ายเดียว โดยเสาขวา ไม่ไดัยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือแม้แต่น้อย

         ยัง ยังไม่หน่ำใจอีวอลล์มัน การที่มันเอียงใส่แบบนี้ จากน้ำหนักของมัน ที่ควรจะแค่กดหัวข่มเหงกัน มันก็กลายเป็นแรงถีบเข้าที่สีข้างของน้องเสาเต็มๆแทน รู้กันอยู่แล้ว จะกดขี่เท่าไหร่ก็ไม่ว่าหรอก เสาทนได้ แต่มาถีบกันแบบนี้ เสารับไม่ได้  เพราะเสาโดนถีบ แรงถีบมันกระทำมาจากด้านข้าง ทำให้เสาโค้งออกไป ซึ่งไม่ใช่แนวที่จะรับแรงได้ดี สุดท้าย แรงถีบนี้ก็จะทำให้เสาแตก หัก เสียหายไป แล้วระบบโครงสร้างก็จะเฟล

         ไอ้การเฟล มันไม่ได้เฟลแบบพังครืนลงมาหรอกนะ แต่มันจะไปเกิดปัญหาเป็น 


advertisement

         1 ผนังที่ติดกับเสาฝังขวามือ จะเกิดรอยแยกตัวของเสากับผนังขึ้น และรอยแยกนี้ จะแยกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แบบซ่อมไม่ได้

         2 โคนเสาต้นซ้ายมือ จะเกิดรอยฉีกแนวนอน

         3 ผนังซ้ายมือ ที่วิ่งไปหลังบ้าน จะแยกออกจากเสา ส่วนที่ติดแน่นหน่อยก็จะกลายเป็นจุดเริ่มของรอยฉีกแนวเฉียง

         4 หลังคาฝั่งเสาซ้ายมือ จะทรุด เอียง

         5 ฝ้าบริเวณริมมุมซ้ายมือ จะแตก และฉีกขาด

         6 หลังคาเหนือเสาซ้ายมือ จะแตกร้าว มีการรั่วซึม

         7 ผนังที่ก่อเอียงนี้ จะแตกร้าวแบบมั่วกระจายไม่มีชิ้นดี เพราะการถ่ายแรงของอิฐแต่ละก้อนมันไม่โอเค แถมปูนก่อ ปูนฉาบที่ผนังนี้ ก็รับแรงแนว Y ไม่ดี  การแตกนี้ซ่อมยังไงก็จะไม่หาย

         เราอาจจะโฟกัสแค่งานก่อ เลยอาจจะหลงลืมไปไม่ได้ดูอย่างอื่น แต่บางคนก็ตาไว ตาคมมองเห็นจุดแปลกๆในงานนี้  แอดเฉลยให้เลยแล้วกันว่า บ้านนี้มีอะไรไม่ถูกบ้าง

         1 คานรับชั้น 2 หายไป และที่มีก็ไม่ใหญ่พอ น่าจะเป็นแค่การเข้าแบบเทพื้น คือทำระบบโพสเทนชั่นแบบไม่ดึงเหล็กกันเลยเชียว

         2 คานหน้าบ้าน ในกรณีที่ผู้ออกแบบต้องการให้ประตูหน้าบ้าน มันเป็นสี่เหลี่ยมที่มีมุมแหลมมุมนึง ก็จำเป็นที่จะต้องหล่อคาน 2 อัน แล้วแบ่งส่วนพื้นที่ก่อเป็นสามเหลี่ยมแทน ( รูปในคอมเมนต์ ) ไม่ใช่มามักง่ายทำแบบนี้

         3 คานเอ็นหายไปไหน

         4 ผนังซ้ายมือล้มแล้วจ้า ก่อไม่ได้ดิ่ง

         5 ไม่ทำคานรัดคอเสาบนก่อนการก่อ ทำให้เสาอาจจะฉีกออกจากแนว

         6 เสาชั้นสอง น่าจะเป็นเสาสำเร็จ และวางไว้เฉยๆ ไม่ได้เชื่อมกับอะไรให้แข็งแรง

         ที่เล่ามายืดยาวเป็นหลักการพื้นฐานง่ายๆ แต่เล่าไม่ง่ายเลย หวังว่าอ่านถึงตรงนี้ก็จะได้เข้าใจ และได้อะไรติดหัวไปบ้าง ส่วนไอ้ลุงคนที่บอกว่า ทำได้ และท้าเหย่งๆ ให้เอาเปเปอร์รับรองมา แอดขอบอกว่า ไปเอากับพ่อลุงนะครับ

ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 


advertisement

        ถ้าหากไม่ก่อแนวแกน X และ Y คือดีที่สุด แบบในภาพเสารับไม่ได้  แรงถีบมันกระทำมาจากด้านข้าง ทำให้เสาโค้งออกไป ซึ่งไม่ใช่แนวที่จะรับแรงได้ดี สุดท้าย แรงถีบนี้ก็จะทำให้เสาแตก หัก เสียหายไป แล้วระบบโครงสร้างก็จะเฟล อย่าหาทำ 


advertisement