advertisement

เปิดประวัติ ‘จันตา’ สาวจากเมืองลับแลในละคร ‘กรงกรรม’ ใส่ใจทุกรายละเอียดจริงๆ


advertisement

      กำลังเข้มข้นเลยทีเดียวค่ะ สำหรับละครเรื่อง "กรงกรรม" ทางช่อง 3 ที่แฟนคลับต่างติดอกติดใจ เพราะนอกจากเนื้อเรื่องจะดุเด็ดเผ็ดมันส์แล้ว นักแสดงแต่ละคนยังแสดงได้ถึงบทบาทจนคนดูอินกับละครเรื่องนี้กันทั่วบ้านทั่วเมือง

     หนึ่งในตัวละครเด่นๆก็คือ "จันตา" รับบทโดย ยี่หวา ซึ่งตอนนี้หลายคนกำลังสับสน ว่าจันตา จะคู่กับใครกันแน่ แต่ที่รู้คือ ทุกๆฝ่ายให้ความสำคัญกับรายละเอียดของตัวละครมากๆ เพราะจันตา เป็นหญิงสาวมาจากเมืองลับแล เฟซบุ๊กเพจ อุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง ได้ออกมาเผยประวัติตัวละครตัวนี้ ว่า

        "จันตา" สาวน้อยจากเมืองลับแล ในละครเรื่อง กรงกรรม

        เมืองลับแล เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นเมืองล้านนาโบราณมีมาตั้งแต่สมัยก่อนกรุงสุโขทัยชาวลับแล เป็นเชื้อชาติไทยวนอพยพมาจากเมืองเชียงแสนในสมัยอยุธยาตอนปลายแบ่งเป็น 2 พวก คือพวกแรกเข้ามาตั้งหลักครั้งแรกที่หมู่บ้านเชียงแสน ตำบลฝายหลวง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ อีกกลุ่มหนึ่งไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่หมู่บ้านน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ดังนั้นชาวลับแลจึงมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมเป็นแบบล้านนาดั้งเดิม ทั้งนี้จากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุได้กล่าวว่า ผ้าซิ่นตีนจกเป็นของคู่กันกับคนไทยวน ไม่ว่าจะเป็นที่ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอคูบัว จังหวัดราชบุรี อำเภอเสาไห้จังหวัดสระบุรี ซึ่งก็มีผ้าตีนจกทั้งสิ้น แต่ว่าจะมีความแตกต่างกันเรื่องของสีและการให้ลายที่จะมีลักษณะต่างกัน

        การทอผ้ายกมุก เป็นศิลปะการทอผ้าแบบหนึ่งของกลุ่มวัฒนธรรมไทยวน และกลุ่มวัฒนธรรมไทพวน นิยมทอกันในภาคเหนือ คำว่า"มุก"ในภาษาไทยวน/ไทลื้อ หมายถึงลวดลายที่นูนขึ้นมา(จากเส้นยืนพิเศษหรือเส้นพุ่งพิเศษ)ไม่เกี่ยวกับไข่มุกนะครับ เป็นคำเรียกการทอลวดลายของช่างทอแต่อดีตโดยรวมๆว่า ยกมุก/ยกดอก คือการทอยกลายให้เป็น"ดอก"เป็น"มุก"น่ะเพื่อทำตัวซิ่น เรียกว่า ผ้าซิ่นมุก ซึ่งมีส่วนตีนซิ่นเป็นตีนจก ซิ่นมุกจะทอลวดลายเป็นวงกลมเล็กๆ เรียงกันเป็นแถวคล้ายกับสร้อยไข่มุก ชาวไทยที่ทอผ้ายกมุก ได้แก่ไทยวนในจังหวัดแพร่ จังหวัดอุตรดิตถ์ และจังหวัดสระบุรี เป็นต้น ส่วนไทยวนในจังหวัดเชียงใหม่ไม่นิยมทอผ้ายกมุก กลุ่มไทยวนจังหวัดราชบุรีมีการทอลายมุก แต่ทอด้วยเทคนิคขิด

        ลักษณะผ้าซิ่นของลับแลจะเป็นการต่อตัวซิ่นเป็นท่อนๆ คนสมัยก่อนไม่นุ่งผ้าผืนเดียว ด้วยความชื่อที่ว่า ผ้าผืนเดียวเป็นผ้าของคนตาย เป็นผ้านุ่งผี ทำให้ผ้าที่ใช้มีการต่อตัวต่อเอว เป็นผ้านุ่งของคน นิยมใช้สีขาว สีแดง ซึ่งเชื่อกันว่าจะให้ความเป็นสิริมงคลกับผู้สวมใส่ กันสิ่งอัปมงคลได้ เอวจะนิยมต่อกับผ้าชิ้นเล็กๆ เข้าไปอีก เชื่อว่าการต่อเอวซิ่นเป็นการต่ออายุให้กับผู้สวมใส่ ….จันตา สาวน้อยจากเมืองลับแล ในละครเรื่อง กรงกรรม จึงใด้แรงบันดาลใจจากการแต่งกายของกลุ่มชนไทยวนในลับแลอดีตมาเป็นแรงบันดาลใจ

        #กรงกรรม #ช่อง3 #จันตาเป็นสาวลับแล [ads]

จันตา สาวจากเมืองลับแล


advertisement


advertisement
สวยมากๆ 

ใส่ใจทุกรายละเอียด 


advertisement
น่ารักมากๆ 

       ต้องบอกว่า งานละเอียดจริงๆ แม้แต่ผ้าซิ่นที่จันตาสวมใส่ ก็มีรายละเอียดอยู่ด้วย ไม่แปลกใจเลยว่าเพราะอะไรคนดูถึงติดละครเรื่องนี้กันงอมแงมทั้งประเทศ

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก อุตรดิตถ์ 24 ชั่วโมง


advertisement